Page 255 - เอกสารประกอบหลักสูตรเพื่อพัฒนาอาชีพ Re - Skill และ Up - Skill กลุ่มอาชีพเกษตรกรรม
P. 255
กลุ่มอาชีพเกษตรกรรม
หลักสูตร การท�าอาหารคาวเพื่อสุขภาพ
251
2) ศิลปะในการขาย อาจกล่าวได้ว่าผู้จำหน่าย ต้องใช้ทั้งศาสตร์และศิลปะในการจำหน่าย
“ศาสตร์” ในที่นี้หมายถึง ความรู้และความเข้าใจในผลิตภัณฑ์ สามารถให้คำแนะนำ ชี้ข้อดีและข้อเด่นของ
ผลิตภัณฑ์ เพื่อให้ผู้ซื้อเกิดความมั่นใจว่าได้รับผลิตภัณฑ์ที่ดี รสชาติอร่อย คุ้มค่ากับเงินที่ต้องจ่ายไป สำหรับ
“ศิลปะ” ในที่นี้ หมายถึง ศิลปะในการขาย ผู้จำหน่ายควรมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี จดจำลูกค้าหรือผู้ซื้อได้ เพราะ
จะทำให้เพิ่มเสน่ห์ในการขาย อีกทั้งควรพูดจาไพเราะ การมีสัมพันธภาพและอัธยาศัยที่ดีกับลูกค้าหรือผู้ซื้อเป็น
การโฆษณาสินค้าที่ดีที่สุด ทำให้สามารถเพิ่มยอดขายและมีกำไรเพิ่มได้
หลักและองค์ประกอบของการกำหนดราคา
การกำหนดราคาขาย หมายถึง การเพิ่มจำนวนเงินเข้าไปในราคาทุนของสินค้า ราคาที่ได้ คือ
ราคาขาย ส่วนแตกต่างระหว่างราคาทุนและราคาขาย คือ ผลกำไร ดังนั้น องค์ประกอบพื้นฐานในการพิจารณา
กำหนดราคาขาย คือ ต้นทุนการผลิต และส่วนองค์ประกอบอื่น ๆ ได้แก่ รูปลักษณ์ขนม จำนวนที่ผลิต รูปแบบ
การบรรจุภัณฑ์ ราคาในท้องตลาด สิ่งเหล่านี้ต้องนำมาใช้พิจารณาเพื่อกำหนดราคาขาย และกำไรร่วมกับ
ต้นทุนการผลิต
ต้นทุนการผลิตที่สำคัญ คือ
1) ค่าวัตถุดิบ หมายถึง ค่าใช้จ่ายหลักในการผลิตผลิตภัณฑ์ ได้แก่ ค่าวัตถุดิบต่าง ๆ ซึ่งสามารถ
คำนวณได้จากราคาจริงของวัตถุดิบแต่ละชนิด
2) ค่าแรงงาน หมายถึง เงินเดือน หรือค่าแรงที่จ่ายให้แก่คนงานที่เกี่ยวข้องกับการผลิตโดยตรง
ต้นทุนในด้านนี้ สามารถคิดได้จากการเอาค่าแรงทั้งหมด หารด้วยจำนวนผลิตภัณฑ์ ทั้งหมดที่ผลิตคิดเป็น
ค่าแรงงานต่อผลิตภัณฑ์ 1 ชิ้น
3) ค่าโสหุ้ยการผลิต หมายถึง ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น นอกเหนือจากค่าวัตถุดิบและ
ค่าแรงงาน ซึ่งค่าใช้จ่ายเหล่านี้มีส่วนช่วยให้กระบวนการผลิตเสร็จสิ้นลง สำหรับกิจการ ได้แก่ อุปกรณ์ทุกชนิด
ที่ใช้ในการผลิต ค่าสถานที่ ค่าเช่าอาคาร ค่าซ่อมแซมเครื่องจักร ค่าน้ำ ค่าไฟ และค่าเสื่อมราคาของอุปกรณ์
ซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายที่สำคัญที่ผู้ผลิตควรให้ความสำคัญ
วิธีการคำนวณให้นำเอาราคาต้นทุนทั้งหมดของอุปกรณ์ที่ใช้มาหารเฉลี่ยค่าใช้จ่าย เพื่อพิจารณา
ว่าในแต่ละเดือนจะเสียค่าโสหุ้ยในการผลิตทั้งหมดเป็นเงินเท่าใด โดยทั่วไปจะนำมาเฉลี่ยตามต้นทุนของ
วัตถุดิบ เพื่อคิดเป็นต้นทุนค่าโสหุ้ยของผลิตภัณฑ์ชนิดนั้น หลังจากที่ทราบต้นทุนการผลิตแล้ว ควรกำหนดกำไร
ที่ต้องการเพื่อนำมาบวกกับต้นทุนการผลิตทั้งหมด เพื่อคิดเป็นราคาขายที่แท้จริง แล้วนำไปเปรียบเทียบกับ
ราคาขายในท้องตลาดเพื่อปรับราคาให้เหมาะสมไม่ให้สูงหรือต่ำเกินไป หากราคาขายสูงกว่าราคาขายใน
ท้องตลาด ควรปรับปรุงผลิตภัณฑ์ให้มีคุณภาพหรือรสชาติที่ดีกว่า สามารถเน้นการบรรจุภัณฑ์ให้สวยงาม หรือ
ปรับปรุงให้มีมาตรฐานขึ้น เพื่อให้ลูกค้ารู้สึกคุ้มค่ากับเงินที่เสียไป
251