Page 142 - เอกสารประกอบหลักสูตรเพื่อพัฒนาอาชีพ Re - Skill และ Up - Skill กลุ่มอาชีพเกษตรกรรม
P. 142
138
3. การทำขมิ้นชันผง
โดยนำขมิ้นชันที่แห้งสนิทมาบด ให้เป็นผงด้วยเครื่องบดที่สะอาดหรือด้วยการตำแล้วร่อนเอาเฉพาะผง
ขมิ้นชัน คือขมิ้นชันแห้ง 1 กิโลกรัม จะได้ขมิ้นชันผง 0.8 กิโลกรัม
การบดร่อน ขมิ้นชันที่ต้องบดเป็นผงละเอียด ควรอยู่ในสภาพแห้ง กรอบจึงจะบดได้ดี อาจทดสอบความกรอบ
ได้ง่าย ๆ โดยลองหักขมิ้นชันว่าหักได้ง่ายหรือไม่ หรือลองป่นด้วยมือว่าเป็นผงได้ง่ายหรือไม่ ดังนั้นขมิ้นชันก่อนบด
ควรมีความชื้นไม่เกินร้อยละ 5
(ที่มาของภาพประกอบ https://www.kasetkaoklai.com/home/2017/05)
4. การกลั่นน้ำมันหอมระเหยขมิ้นชัน
[2]
นำเหง้าขมิ้นชันมาหั่นเป็นชิ้นบาง ๆ เพื่อให้ไอน้ำผ่านได้ง่าย ได้น้ำมันที่มีคุณภาพและปริมาณมาก ใส่ขมิ้นชัน
ที่เตรียมไว้ลงในหม้อกลั่น และใช้วิธีการกลั่นด้วยน้ำและไอน้ำ (water and steam distillation) อุณหภูมิที่ใช้ใน
การกลั่น ระหว่าง 150 - 200 องศาเซลเซียส ระยะเวลา 8 - 10 ชั่วโมง อัตราการกลั่นน้ำมันหอมระเหย ใช้ขมิ้นชันสด
1,000 กิโลกรัม ได้น้ำมันขมิ้นชัน 2 กิโลกรัม
ภาพประกอบที่ 1 ภาพประกอบที่ 2
(ที่มาของภาพประกอบ : 1 https://siamrath.co.th/n/60932)
(ที่มาของภาพประกอบ : 2 https://www.chemipan.com/a/th-th/244-สินค้า/326-เคมีเครื่องสำอาง/
331-น้ำมันหอมระเหย/2304-น้ำมันหอมระเหย-ขมิ้นชัน-turmeric-essential-oil-1kg.html)
........................................
2 ขั้นตอนการปลูกและการดูแลรักษาขมิ้นชัน. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก.
http://www.agriman.doae.go.th/home/Research/Herb57/206.pdf. (วันที่สืบค้นข้อมูล 26 กรกฎาคม 2564)
138