Page 139 - เอกสารประกอบหลักสูตรเพื่อพัฒนาอาชีพ Re - Skill และ Up - Skill กลุ่มอาชีพเกษตรกรรม
P. 139
กลุ่มอาชีพเกษตรกรรม
หลักสูตร การปลูกพืชสมุนไพรพื้นบ้าน ขมิ้นชัน
135
6. การปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยวพืชสมุนไพรขมิ้นชัน
[2]
การเตรียมขมิ้นชันหลังเก็บเกี่ยว เพื่อให้ขมิ้นชันคงสภาพที่ดีไม่สูญเสียสาระสำคัญหลังการเก็บเกี่ยว
ดังนั้นหลังการเก็บเกี่ยวแล้วต้องนำมาตัดแต่งราก จากนั้นทำความสะอาดดินออก ในกรณีที่ต้องการขมิ้นชันสด
อาจจะขายส่วนที่เป็นแง่ง ส่วนหัวแม่ควรเก็บไว้เป็นพันธุ์ปลูกในฤดูกาลต่อไป ถ้าเตรียมขมิ้นชันแห้งเพื่อนำไปใช้ใน
การทำยารักษาโรคนั้น ต้องเป็นขมิ้นชันที่แก่เต็มที่ และต้องคำนึงถึงความสะอาดเป็นสิ่งสำคัญ รวมทั้งต้องมีปริมาณ
สารสำคัญเคอร์คูมินอยด์ไม่น้อยกว่า 8.64 เปอร์เซ็นต์ จึงควรคำนึกถึงขั้นตอนต่าง ๆ หลังการเก็บเกี่ยว ดังนี้
1. การคัดเลือกสิ่งปนเปื้อน ขมิ้นชันที่เป็นส่วนของพืชที่อยู่ใต้ดิน จะมีสิ่งปนเปื้อนมากกว่าส่วนของพืชที่
เหนือดิน เช่น มีดิน ทราย หรือส่วนของพืชอื่น ๆ ปะปนมาด้วย ควรคัดเลือกสิ่งเหล่านี้ออกให้หมดก่อนนำไป
ทำความสะอาด สิ่งปนปลอมอาจจะทำให้ขมิ้นชันมีคุณภาพต่ำ
(ที่มาของภาพประกอบ : https://pantip.com/topic/32995424)
(ที่มาของภาพประกอบ : https://www.sentangsedtee.com/career-channel/article_17263)
2. การทำความสะอาดขมิ้นชัน ส่วนใหญ่ต้องทำความสะอาดหลังเก็บเกี่ยวทันที และทำให้แห้งโดยเร็วที่สุด
เพื่อป้องกันการทำลายของเชื้อจุลินทรีย์ และแมลงศัตรูพืช แต่บางชนิดไม่สามารถทำความสะอาดด้วยน้ำได้ เช่น
จำพวกดอก ซึ่งหลุดร่วงได้ง่ายหรือส่วนที่เป็นผลหรือเมล็ด การทำความสะอาดโดยคัดแยกหัวและแง่งออกจากกัน ตัด
รากและส่วนต่าง ๆ ที่ ไม่ต้องการทิ้ง อาจใช้แปรงช่วยขัดผิว คัดเลือกส่วนที่สมบูรณ์ปราศจากโรคและแมลงนำมาล้าง
ด้วยน้ำสะอาดหลาย ๆ ครั้ง จากนั้นคัดแยก ส่วนของผลผลิตที่จะนำไปทำแห้งและเก็บรักษาไว้ทำหัวพันธุ์ต่อไป
........................................
2 ขั้นตอนการปลูกและการดูแลรักษาขมิ้นชัน. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก.
http://www.agriman.doae.go.th/home/Research/Herb57/206.pdf. (วันที่สืบค้นข้อมูล 26 กรกฎาคม 2564)
135