Page 147 - เอกสารประกอบหลักสูตรเพื่อพัฒนาอาชีพ Re - Skill และ Up - Skill กลุ่มอาชีพเกษตรกรรม
P. 147

กลุ่มอาชีพเกษตรกรรม
                                              หลักสูตร การปลูกพืชสมุนไพรพื้นบ้าน ขมิ้นชัน


                                                                                                     143















                                                       (ที่มาของภาพประกอบ : กลุ่มพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษา)

                   วิธีเพิ่มผลผลิตและคุณภาพของขมิ้นชัน
                                                  [1]
                          สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ได้วิจัยด้านการพัฒนาสมุนไพรเพื่ออุตสาหกรรมและการส่งออก ดังนี้

                          1. อิทธิพลของร่มเงา  ระยะปลูกต่อผลผลิตและปริมาณสาระสำคัญของขมิ้นชัน พบว่าการปลูกขมิ้นชัน
                   ในแปลงที่ไม่พรางแสง, พรางแสง 50%, 60% และ 70% ผลผลิต Rhizome ไม่แตกต่างกัน โดยมีค่าระหว่าง

                   421.46 - 442.85 กรัมต่อต้น แต่เมื่อพรางแสง 80% ผลผลิตลดลงเป็น 196.11 กรัมต่อต้น
                            ปริมาณสาร Curcuminoid ใน Rhizome ของขมิ้นชันที่ปลูกในแปลงที่ไม่พรางแสง, พรางแสง 50%, 60%,

                   และ70% ไม่แตกต่างกัน โดยมีค่าระหว่าง 7.62-8.11% แต่เมื่อพรางแสง 80% ปริมาณสาร Curcuminiod ลดลงเป็น6.96%
                          2. ชนิดปุ๋ย ช่วงเวลาในการใส่ที่เหมาะสมสำหรับการปลูกขมิ้นชัน พบว่าขมิ้นชันที่ใส่ปุ๋ยมูลไก่ อัตรา 250 กรัม
                   ต่อต้น และปุ๋ยวิทยาศาสตร์ สูตร 15 - 15 - 15 อัตรา 14.06 กรัมต่อวัน มีแนวโน้มให้ผลผลิต Rhizome ต่อต้น

                   มากกว่าต้นที่ไม่ใส่ปุ๋ย และการใส่ปุ๋ย 2 ครั้ง เมื่อพร้อมปลูก และขมิ้นชันอายุ 2 เดือนหลังปลูก มีแนวโน้มให้ผลผลิต
                   Rhizome ต่อต้นมากที่สุดเท่ากับ 818.77 กรัมต่อต้น

                          3. การขยายพันธุ์ขมิ้นชันโดยวิธีเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ โดยใช้เทคนิคการเพาะเลี้ยง 2 ขั้นตอน พบว่าการนำตายอด
                   ขมิ้นชันที่มีอายุ 1 - 3 เดือน มาผ่าแบ่งตามยาวเป็น 4 ชิ้นส่วน ความยาว 0.5 เซนติเมตร เพาะเลี้ยงในอาหารสูตร MS ที่

                   เติม TDZ 4 มิลลิกรัมต่อลิตร เป็นเวลา 4 สัปดาห์ แล้วย้ายไปเลี้ยงในอาหารสูตร MS ที่ไม่เติมสารควบคุมการ
                   เจริญเติบโต เป็นเวลา 8 สัปดาห์ สามารถกระตุ้นยอดได้ 18.22 0.62 ยอดต่อชิ้นส่วน มีความยาวเฉลี่ย 3.85 เซนติเมตร
                   ต่อยอด และมีอัตราการสร้างราก 88.40  2.6% สามารถปลูกลงดินในสภาพโรงเรือนได้และเจริญเติบโตได้ดีในสภาพ

                   แปลงปลูก ปริมาณเคอร์คูมินอยด์ของขมิ้นชันที่ได้จากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อจากต้นแม่เดียวกันมีความแปรปรวนต่ำ
                          4. การขยายพันธุ์ขมิ้นชันโดยการกระตุ้นชิ้นส่วนตาในอาหารเหลวที่เติม TDZ พบว่า การเลี้ยงชิ้นส่วนตายอด

                   ขมิ้นชันในอาหารเหลาสูตร MS ที่เติม TDZ 16 มิลลิกรัมต่อลิตร เป็นเวลา 1 สัปดาห์ แล้วย้ายไปเลี้ยงในอาหารสูตร MS ที่
                   ไม่เติมสารควบคุมการเจริญเติบโต เป็นเวลา 8 สัปดาห์ มีอัตราการสร้างยอดใหม่เป็น 14.50 1.33 ยอดต่อชิ้นส่วน
                   ........................................

                          1  วิธีปลูกขมิ้นชัน (Turmeric). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก. https://www.plookphak.com/how-to-plant-turmeric/.
                   (วันที่สืบค้นข้อมูล 27 กรกฎาคม 2564)







                                                          143
   142   143   144   145   146   147   148   149   150   151   152