Page 141 - เอกสารประกอบหลักสูตรเพื่อพัฒนาอาชีพ Re - Skill และ Up - Skill กลุ่มอาชีพเกษตรกรรม
P. 141

กลุ่มอาชีพเกษตรกรรม
                                              หลักสูตร การปลูกพืชสมุนไพรพื้นบ้าน ขมิ้นชัน


                                                                                                     137

                                                       ใบความรู้ที่ 4.2

                                             เรื่อง การแปรรูปพืชสมุนไพรขมิ้นชัน


                                          [1]
                   1. การทำแห้งขมิ้นชันทั้งหัว
                          โดยนำมาต้มหรือนึ่งเหง้าสด นาน 1-2 ชั่วโมง ตากแดด 6 - 8 วัน หรือเป่าลมร้อน 65 - 70 องศาเซลเซียส  ให้

                   มีความชื้นคงเหลือเพียง 8 - 10 เปอร์เซ็นต์ จากนั้นทำความสะอาดเหง้า ปอกเปลือกหรือขัดผิวภายนอกของเหง้า
                   อัตราส่วนขมิ้นสด : ขมิ้นแห้ง เท่ากับ 4 : 1 ในการต้มขมิ้นชันกับน้ำเดือดจะทำให้ประหยัดเวลาในการทำแห้งมากกว่า

                   2 เท่า เมื่อเทียบกับวิธีการฝานสดแล้วตากแห้งกับแสงแดด และขมิ้นที่ได้ต้องนำไปบดเป็นผงต่อไป

                   2. การทำขมิ้นชันแห้งแบบชิ้น

                          โดยหั่นหรือฝานขมิ้นชันด้วยมีดหรือเครื่องหั่น หนาประมาณ 1 - 2 มิลลิเมตร เกลี่ยให้บางบนถาดหรือตะแกรง
                   จากนั้นนำไปอบ โดยใช้เครื่องอบแห้งแบบอุโมงค์ ที่อุณหภูมิ 60 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 8 -12 ชั่วโมง หรือนำไปตากแดด
                   3 วัน และอบที่อุณหภูมิ 60 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 3 ชั่วโมง อัตราการทำแห้งขมิ้นชันสด : ขมิ้นชันแห้ง เท่ากับ 8 : 1

                          การอบขมิ้นชันมีข้อควรปฏิบัติ ดังนี้ ควรเกลี่ยขมิ้นชันให้แผ่บาง ๆ บนภาชนะ ถ้าซ้อนทับกันหนาทำให้เกิด
                   ความร้อน จะทำให้ขมิ้นชันมีสีดำ คุณภาพลดลง ดอกควรทำให้แห้งเร็วที่สุด เพื่อถนอมสีของดอกให้เหมือนเดิม ถ้าเป็นดอก

                   ที่มีกลิ่นหอมควรผึ่งในที่ร่มที่มีอากาศถ่ายเทได้ดี หรือตากแดดช่วงสั้น เพื่อป้องกันการเกิดเชื้อรา ดอกบางชนิดอาจมัด
                   รวมกันแขวนตากไว้บนราว ใบอาจทำให้แห้งวิธีเดียวกับดอก ใบที่อุ้มน้ำไว้มากอาจเพิ่มความร้อนในการอบแห้งให้

                   สูงกว่าปกติ ทั้งต้นของพืชล้มลุก ถ้าไม่อุ้มน้ำไว้มากอาจผูกมัดรวมเป็นกำแล้วตากแห้ง รากและลำต้นใต้ดินเวลา
                   ตากหรืออบแห้งในตู้ควรหมั่นกลับขมิ้นชันบ่อย ๆ เพื่อป้องกันการเกิดเชื้อรา











                                       ภาพประกอบที่ 1                           ภาพประกอบที่ 2

                          (ที่มาของภาพประกอบ : 1 //www.dede.go.th/ewt_dl_link.php%3Fnid%3D43961%26filename%3
                                              Dsolar_energy+&cd=1&hl=th&ct=clnk&gl=th&lr=lang_en|lang_th)
                          (ที่มาของภาพประกอบ : 2 http://www.bansuanporpeang.com/node/14379)
                   ........................................

                          1  การจัดการการผลิตขมิ้นชันในระบบเกษตรอินทรีย์เพื่อเพิ่มผลผลิต. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก.
                   https://rae.mju.ac.th/goverment/20130325103535_2013_rae/Doc_25630311105015_91741.pdf. (วันที่สืบค้น
                   ข้อมูล 26 กรกฎาคม 2564)






                                                          137
   136   137   138   139   140   141   142   143   144   145   146