Page 101 - เอกสารประกอบหลักสูตรเพื่อพัฒนาอาชีพ Re - Skill และ Up - Skill กลุ่มอาชีพเกษตรกรรม
P. 101

กลุ่มอาชีพเกษตรกรรม
                                              หลักสูตร การปลูกพืชสมุนไพรพื้นบ้าน ขมิ้นชัน


                                                                                                      97














                                 ภาพประกอบที่ 1                       ภาพประกอบที่ 2
                   (ที่มาของภาพประกอบที่ 1 : https://mgronline.com/south/detail/9590000087806)
                   (ที่มาของภาพประกอบที่ 2 : https://www.palangkaset.com/ผักเศรษฐกิจ/ขมิ้นชัน-3-ผงขมิ้น/attachment/ 4-พื้นที่ปลูกขมิ้นชัน/
                             ด้านอุตสาหกรรม

                             กรมวิชาการเกษตรแนะนำช่องทางการปลูกขมิ้นชันในด้านอุตสาหกรรมยา เครื่องสำอาง อาหารเสริม
                   เร่งวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตหัวพันธุ์ขมิ้นชันปลอดโรคสายพันธุ์ตรัง 1 และ ตรัง 84 - 2 เพื่อเพิ่มปริมาณ

                   ผลผลิต - ขยายพันธุ์ดีปลอดโรค พร้อมหนุนส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกเชิงการค้ารองรับการขยายตัวของอุตสาหกรรม
                   ขมิ้นชัน ทั้งตลาดภายในและต่างประเทศเผยสรรพคุณให้ “สารเคอร์คูมินอยด์” สูงกว่ามาตรฐานยาสมุนไพร 120
                   เปอร์เซ็นต์ ทำให้เป็นที่ต้องการสูง

                             ปัจจุบันสถาบันวิจัยพืชสวน กรมวิชาการเกษตร ได้แนะนำว่าขมิ้นชัน เป็นพืชสมุนไพรเศรษฐกิจที่กำลัง
                   เป็นที่ต้องการสูงของอุตสาหกรรมยาแผนโบราณและยาแผนปัจจุบัน อุตสาหกรรมเครื่องสำอาง อุตสาหกรรมอาหาร

                   และเครื่องดื่มและอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์อาหารเสริม โดยตลาดอุตสาหกรรมสารสกัดขมิ้นชัน มีมูลค่ารวม 49
                   ล้านบาท ในขณะที่ปริมาณผลผลิตหัวสดซึ่งยังผลิตไม่เพียงพอกับความต้องการของอุตสาหกรรมขมิ้นชันในประเทศ
                   โดยที่ผ่านมาสถาบันวิจัยพืชสวนได้รับการติดต่อจากองค์การเภสัชกรรม เพื่อขอซื้อพันธุ์ขมิ้นชันคุณภาพปลอดโรค

                   เพื่อนำไปส่งเสริมให้เกษตรกรในเครือข่ายปลูกเชิงการค้า เพื่อเพิ่มปริมาณผลผลิตให้เพียงพอกับอุตสาหกรรม
                   ขมิ้นชันหลายแขนงที่กำลังขยายการเติบโต ซึ่งในเบื้องต้นองค์การมีความต้องการใช้ขมิ้นชันตากแห้ง ประมาณปีละ

                   90 ตัน ปัจจุบันได้มีการนำสารเคอร์คูมินอยด์ที่สกัดจากขมิ้นชัน ที่ขึ้นทะเบียนเป็นยาพัฒนาจากสมุนไพร      แผน
                   ปัจจุบันรายการแรกของประเทศไทยสำหรับใช้บรรเทาอาการปวดในโรคข้อเข่าเสื่อม เพื่อนำมาผลิตผลิตภัณฑ์
                   แคปซูลสารสกัดขมิ้นชันทดแทนยาแผนปัจจุบัน สำหรับสรรพคุณของขมิ้นชันมีสารออกฤทธิ์ที่มีประโยชน์ 2 กลุ่มคือ

                   กลุ่มน้ำมันระเหย (Volatile oil) และกลุ่มสารสีเหลืองส้มหรือที่เรียกว่าสารเคอร์คูมินอยด์(Curcuminoid)
                             ทั้งนี้ เพื่อเป็นการรองรับการขยายการเติบโตของตลาดขมิ้นชัน กรมวิชาการเกษตรกำลังเร่งวิจัยและ

                   พัฒนาเทคโนโลยีการผลิตหัวพันธุ์ขมิ้นชันปลอดโรคระบบวัสดุปลูก (Substrate Culture) หรือการปลูกที่ใช้วัสดุอื่น
                   ที่ไม่ใช่ดิน ขมิ้นชัน มี 2 สายพันธุ์ คือ สายพันธุ์ตรัง 1 และสายพันธุ์ตรัง 84 - 2 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อลดปัญหา
                   โรคระบาดและการปนเปื้อนจากสารเคมีตกค้างในดิน ที่อาจมีผลต่อการเจริญเติบโตและสารเคมีตกค้างในผลผลิต

                   ขมิ้นชันซึ่งจะทำให้ได้ผลผลิตที่สูงขึ้นกว่าการปลูกในดิน






                                                           97
   96   97   98   99   100   101   102   103   104   105   106