Page 100 - เอกสารประกอบหลักสูตรเพื่อพัฒนาอาชีพ Re - Skill และ Up - Skill กลุ่มอาชีพเกษตรกรรม
P. 100

96

                   พอเหมาะและไม่ควรรับประทานร่วมกับยาบางชนิด ซึ่งหลีกเลี่ยงได้ด้วยการเว้นระยะรับประทานยาก่อนหรือหลัง

                   อาหารเพื่อป้องกันผลต้านฤทธิ์ยา
                             เมนูอาหารที่มีส่วนประกอบของขมิ้นชันนั้น ได้รับการสืบทอดกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษ และยังคงเป็น
                   เมนูคู่โต๊ะอาหารไทยจนถึงปัจจุบัน นับเป็นความโชคดีของคนไทยที่มีทั้งทรัพยากรทางธรรมชาติ และมรดกทาง

                   ภูมิปัญญา นับเป็นการดูแลรักษาสุขภาพด้วยการใช้สมุนไพรใกล้ตัวในชีวิตประจำวันได้อย่างชาญฉลาด ซึ่งทาง
                   มูลนิธิโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศรได้นำมาศึกษาความรู้ด้านสมุนไพรจากผู้เฒ่าผู้แก่ พร้อมทั้งพัฒนาและ

                   เผยแพร่อย่างต่อเนื่อง เพื่อไม่ให้สูญหายไปตามกาลเวลา ตัวอย่างเมนูที่ใช้ขมิ้นชันเป็นส่วนประกอบ เช่น ไก่ทอดขมิ้นชัน
                   แกงคั่วปูใบชะพลู ปลาทรายขาวทอดขมิ้นชัน ไก่บ้านต้มขมิ้นชัน และห่อหมกย่าง เป็นต้น










                                (ที่มาของภาพประกอบ : https://waterlibrary.com/turmeric-in-thai-food-is-amazing/)

                             ด้านเศรษฐกิจ

                             ขมิ้นชัน ถือเป็นพืชเศรษฐกิจที่สามารถยกฐานะเกษตรกร ส่งขมิ้นชันที่ปลูกให้แก่องค์การเภสัชกรรม
                   ซื้อทำยาสามารถสร้างรายให้แก่เกษตรกรได้กว่า 10 ล้านบาท จากประโยชน์อันมากมายของขมิ้นชัน ทำให้

                   องค์การเภสัชกรรม ได้มีการลงนามสัญญารับซื้อขมิ้นชันคุณภาพกับเกษตรกร 3 จังหวัด 3 ภาค ประกอบด้วย
                   จังหวัดลพบุรี จังหวัดยะลา และจังหวัดตาก พร้อมทั้งยังได้ส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกขมิ้นชัน ที่จะเป็นวัตถุดิบใน
                   การนำไปสกัดสารเคอร์คูมินอยด์ไปเป็นยาที่จะช่วยในการรักษาโรคต่าง ๆ ได้ เนื่องจากทางองค์การเภสัชกรรมได้

                   มีการวิจัยว่าขมิ้นชันที่สกัดสารเคอร์คูมินอยด์แล้วสามารถนำไปรักษาโรคได้มากมายข้างต้น ซึ่งขมิ้นชัน
                   ตากแห้งนั้นยังคงมีความต้องการในการนำไปเป็นวัตถุดิบผลิตยาประมาณปีละ 90 ตัน โดยได้มีการลงนามสัญญา

                   จะรับซื้อจากเกษตรกรในราคากิโลละ 120 บาท จะทำให้เกษตรกรมีรายได้กว่า 10 ล้านบาท ขณะเดียวกันยังได้
                   ส่งเสริมให้เกษตรกรได้ปลูกขมิ้นชันด้วยการมอบพันธุ์ขมิ้นชันให้กับเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ รวมทั้งจะได้มี
                   การติดตามหลังจากที่เกษตรกรที่เข้าโครงการได้ปลูกไปแล้วด้วย เนื่องจากในอนาคตจะได้มีการนำยาที่สกัดจาก

                   ขมิ้นชันส่งออกไปจำหน่ายยังต่างประเทศ ซึ่งเป็นไปตามนโยบายของทางรัฐบาลที่ต้องการสร้างรายได้ให้กับ
                   เกษตรกรและปรับเปลี่ยนในเรื่องของการเพาะปลูก ซึ่งจะกระจายรายได้ไปยังเกษตรกรในพื้นที่อื่น ๆ กว่า 5 ล้านบาท

                   ขมิ้นชันนอกจากเป็นพืชสมุนไพรที่มีสรรพคุณทางยาที่หลากหลายแล้ว ยังสามารถสร้างรายได้ให้เกษตรกรผู้ปลูก
                   ได้อย่างยั่งยืนอีกด้วย











                                                           96
   95   96   97   98   99   100   101   102   103   104   105