Page 102 - เอกสารประกอบหลักสูตรเพื่อพัฒนาอาชีพ Re - Skill และ Up - Skill กลุ่มอาชีพเกษตรกรรม
P. 102
98
(ที่มาของภาพประกอบ : https://www.kasetkaoklai.com/home/2019/09/เผยแทรนด์ขมิ้นชันอุตสาหกรรม)
ส่วนการขยายพันธุ์ ได้ใช้เทคนิคการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อแทนการใช้หัวและแง่ง เพื่อเพิ่มปริมาณต้นพันธุ์ได้
มากขึ้น สามารถรองรับความต้องการเกษตรกรที่จะนำขมิ้นชันพันธุ์นี้ไปปลูกเชิงการค้าในอนาคต โดยการวิจัย
ดังกล่าวดำเนินการในศูนย์วิจัยพืชสวนเชียงราย โดยเริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2560 และจะแล้วเสร็จในปี 2564 นี้
และหากสำเร็จก็พร้อมแจกจ่ายขมิ้นชันสายพันธุ์ปลอดโรคไปยังกลุ่มเกษตรกรต่างๆ ต่อไป จากกระแสความ
ต้องการของตลาดสมุนไพรที่กำลังมาแรงในปัจจุบัน กรมวิชาการเกษตรได้ให้ความสำคัญในการพัฒนางานวิจัย
และการใช้ประโยชน์จากสมุนไพรของไทยอย่างต่อเนื่อง เพื่อสนับสนุนอุตสาหกรรมสมุนไพรไทย และทดแทน
การนำเข้ายาแผนปัจจุบันจากต่างประเทศ และการพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ เพื่อเพิ่มมูลค่าและผลักดันให้
ขมิ้นชันเป็นสินค้าส่งออกของประเทศไทย ในอนาคตด้วยการส่งเสริมให้เกษตรกรเข้าสู่มาตรฐาน GAP และ
อินทรีย์ในทุกพื้นที่ที่เป็นแหล่งผลิตที่สำคัญ ตลอดจนเร่งกระจายขมิ้นชันพันธุ์ปลอดโรคระบบวัสดุปลูกหรือไม่ใช้
ดินให้กว้างขวางมากขึ้น รวมทั้งเร่งวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีการเพาะเนื้อเยื่อเพื่อให้ได้ปริมาณต้นพันธุ์คุณภาพมากขึ้น
ทั้งนี้ เพื่อรองรับการเติบโตของอุตสาหกรรมขมิ้นชันและเป็นทางเลือกให้เกษตรกรนำไปปลูกเพื่อการค้าป้อน
ตลาดทั้งในและต่างประเทศในอนาคต
ปัจจุบันมีสายพันธุ์ขมิ้นชัน ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนโดยกรมวิชาการเกษตรแล้วมีจำนวนแล้ว 5 สายพันธุ์
ด้วยกันคือ ขมิ้นชันทับปุก (พังงา) ขมิ้นชันตาขุน (สุราษฎร์ธานี) ขมิ้นชันแดงสยาม ขมิ้นชันส้มปรารถนา และ
ขมิ้นชันเหลืองนนทรี และมีสายพันธุ์ที่ผ่านการรับรองจำนวน 2 พันธุ์ด้วยกัน คือขมิ้นชันสายพันธ์ตรัง 1 และ
ขมิ้นชันสายพันธุ์ตรัง 84 - 2
ภาพประกอบที่ 1 ภาพประกอบที่ 2 ภาพประกอบที่ 3
(ที่มาของภาพประกอบที่ 1 : https://www.thaihealth.or.th/Content/38293-“ขมิ้นชัน”ขึ้นทะเบียนยาแผนปัจจุบัน.html)
(ที่มาของภาพประกอบที่ 2 : https://www.abhaiherb.net/article/12/ขมิ้นชัน-ควรรับประทานขมิ้นชันตามเวลาไหนบ้าง-มาดู
กัน)
(ที่มาของภาพประกอบที่ 3 : https://www.thailandpostmart.com/product/1013450000565/ขมิ้นชัน-500-กรัมบ้านกร่าง/)
98