Page 105 - เอกสารประกอบหลักสูตรเพื่อพัฒนาอาชีพ Re - Skill และ Up - Skill กลุ่มอาชีพเกษตรกรรม
P. 105
กลุ่มอาชีพเกษตรกรรม
หลักสูตร การปลูกพืชสมุนไพรพื้นบ้าน ขมิ้นชัน
101
แนวคำตอบ ใบงานที่ 1 เรื่อง ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับพืชสมุนไพรขมิ้นชัน
1. ตอบ ลักษณะทั่วไปของพืชสมุนไพรขมิ้นชัน
ชื่อสามัญ : Turmeric
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Curcuma longa L.
ชื่อพ้อง : Curcuma domestica Valeton
ชื่อวงศ์ : ZINGIBERACEAE
ชื่ออื่น ๆ เช่น
- ทั่วไป : ขมิ้น
- เชียงใหม่ : ขมิ้นแกง ขมิ้นหยอก ขมิ้นหัว
- กะเหรี่ยง กำแพงเพชร : ตายอ
- กะเหรี่ยง แม่ฮ่องสอน : สะยอ
- ภาคกลาง พิษณุโลก : ขมิ้นชัน
- ภาคใต้ : ขี้มิ้น, หมิ้น
ถิ่นกำเนิดของขมิ้นชัน โดยขมิ้นชัน มีถิ่นกำเนิดในประเทศแถบเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกใต้
2. ตอบ ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของพืชสมุนไพรขมิ้นชัน
1. เหง้าขมิ้น คือ ลำต้นใต้ดิน ซึ่งประกอบด้วยแง่งที่มีลักษณะต่าง ๆ กัน
2. แง่งขมิ้น คือ แง่งแม่หรือแง่งหลักจะมีลักษณะกลม ซึ่งจะเป็นที่แตกของแขนงที่สองและสามต่อไป
แขนงที่แตกออกมานี้ถ้ามีลักษณะกลมจะเรียกว่า หัว และถ้ามีลักษณะยาวคล้ายนิ้วมือจะเรียกว่า นิ้ว ซึ่งเป็นที่เกิด
ของรากฝอย เนื้อในหัวมีสีเหลืองอมส้มหรือสีเหลืองจำปาปนสีแสด และมีกลิ่นหอม
3. ใบขมิ้น คือ ลำต้นเหนือดิน มีกาบก้านใบที่เรียงซ้อนกันเป็นลำต้นเทียม ลักษณะใบ เป็นใบเดี่ยว กลางใบสี
แดงคล้ำ แทงออกจากเหง้าใต้ดิน ลักษณะใบรูปใบหอกยาวเรียว ปลายใบแหลม กว้าง 12 - 15 เซนติเมตร ยาว 30 - 40
เซนติเมตร มีเส้นกลางใบเห็นได้ชัดเจนทางด้านล่างของใบ ใบเรียงแบบสลับ และอยู่กันเป็นกลุ่ม
4. ดอกขมิ้น คือ ในส่วนของดอก ออกเป็นช่อ ช่อดอกจะเกิดบนลำต้นที่มีใบหรือโผล่ขึ้นมาจากใจกลาง
ของกลุ่มใบ ช่อดอกมีรูปร่างแบบทรงกระบอกหรือรูปกรวย ใบประดับมีสีเขียวอ่อนๆ หรือสีขาว กลีบดอกสีเหลืองอ่อน
ตรงปลายช่อดอกจะมีสีชมพูอ่อน จัดเรียงซ้อนกันอย่างเป็นระเบียบ กลีบรองกลีบดอกจะเชื่อมติดกันเป็นรูปท่อ มีขน
กลีบดอกมีขาว ตรงโคนเชื่อมติดกันเป็นท่อยาว บานครั้งละ 3-4 ดอก และผล รูปกลมมี 3 พู
3. ตอบ ความสำคัญของพืชสมุนไพรขมิ้นชันในด้านต่าง ๆ นำเสนอ 5 ด้าน ได้แก่
2.1 ด้านการแพทย์และสาธารณสุข
2.2 ด้านอาหารและการบริโภค
2.3 ด้านเศรษฐกิจ
2.4 ด้านอุตสาหกรรม
2.5 ด้านเกษตรกรรม
101