Page 106 - เอกสารประกอบหลักสูตรเพื่อพัฒนาอาชีพ Re - Skill และ Up - Skill กลุ่มอาชีพเกษตรกรรม
P. 106
ใบความรู้ที่ 2
เรื่อง สรรพคุณของพืชสมุนไพรขมิ้นชัน
ขมิ้นชัน (Turmeric) หรือขมิ้น เป็นพืชที่มีเหง้าอยู่ใต้ดิน เนื้อของเหง้ามีสีเหลืองเข้มไปจนถึงสีแสด
มีเอกลักษณ์ที่เด่นชัด คือ รสชาติที่จัดจ้าน สีสันมีความสวยงาม อีกทั้งยังได้มีการนำเอาสมุนไพรมาประยุกต์
ผสมผสานลงไปในอาหารไทย ทำให้ได้รสชาติที่ดูแตกต่างแต่ลงตัว เมื่อพูดถึงเรื่องสมุนไพรที่คนไทยนิยมนำมา
ทำอาหารเราคงจะพลาดที่จะเอ่ยถึงขมิ้นชันไม่ได้ เพราะว่าเป็นอีกหนึ่งวัตถุดิบที่ทำให้อาหารมีสีสันสะดุดตา
ตลอดจนมีสรรพคุณทางยาที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายเพิ่มพูนเป็นลำดับถัดมาจากความอร่อย ตอนนี้จะมา
ทำความรู้จักกับสมุนไพรชนิดนี้กันให้มากขึ้น เพราะเหตุใดจึงเป็นที่นิยมและประโยชน์ที่ได้จากสมุนไพรขมิ้นชัน
คุณประโยชน์ของขมิ้นชัน
(ที่มาของภาพประกอบ : https://shopee.co.th/blog/turmeric-health-benefits/)
ขมิ้นชัน มีสารเคอร์คูมินอยด์ (Curcuminoid) พบได้ในพืชมีเหง้าและพืชวงศ์ขิง มีสารต้านอนุมูลอิสระ
ช่วยลดอาการอักเสบ และลดระดับคอเลสเตอรอลในเลือด ทำให้มีการนำขมิ้นชันมาประยุกต์ใช้ในอาหารและยา
อย่างแพร่หลาย ซึ่งมีประโยชน์และสรรพคุณ ดังนี้
[1]
1. ล้างพิษตับ
ขมิ้นชันมีสรรพคุณช่วยขับพิษที่สะสมในตับ เนื่องจากมีฤทธิ์ป้องกันตับอักเสบ ช่วยบำรุงตับ และฟื้นฟูตับ
โดยมีการใช้ขมิ้นชันทดลองรักษาโรคตับแข็งในหนู ผลปรากฏว่าอาการไม่ลุกลามเพิ่ม ทำให้นิยมใช้เป็นสมุนไพรยา
ที่ช่วยฟื้นฟูสุขภาพและล้างพิษออกจากตับ
2. รักษาโรคผิวหนังเรื้อรัง
ขมิ้นชันสามารถใช้รักษาโรคที่เกี่ยวกับผิวหนังได้ เช่น โรคผื่นคัน กลาก เกลื้อน ผิวหนังอักเสบจากอาการแพ้
คนไทยสมัยก่อนใช้เหง้าสดของขมิ้นชันมาฝนและบดให้ละเอียด ก่อนจะนำไปทาบริเวณที่มีอาการคัน แต่ปัจจุบัน
สามารถใช้ผงขมิ้นชันสำเร็จรูปผสมน้ำเปล่าหรือน้ำมันมะพร้าว นำไปทาบริเวณที่อักเสบหรือคันได้
..........................................................
1 10 คุณประโยชน์ของขมิ้นชัน สรรพคุณป้องกันสารพัดโรค. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก
https://www.thairath.co.th/lifestyle/food/1999331 (วันที่สืบค้นข้อมูล 25 กรกฎาคม 2564)
102