Page 246 - เอกสารประกอบหลักสูตรเพื่อพัฒนาอาชีพ Re - Skill และ Up - Skill กลุ่มอาชีพเกษตรกรรม
P. 246

242


                                                      ใบความรู้ที่ 5.2

                                    เรื่อง การจัดตกแต่งและจัดเสิร์ฟอาหารคาวเพื่อสุขภาพ


                   การจัดตกแต่งอาหารคาวเพื่อสุขภาพ

                           [1] มนุษย์เราไม่ได้บริโภคอาหารเพื่อสนองความต้องการของร่างกายหรือบำบัดความหิวแต่เพียง
                   อย่างเดียว แต่เราบริโภคอาหารเพื่อสนองความต้องการทางจิตใจด้วย ดังนั้น จึงควรจัดอาหารให้
                   น่ารับประทาน โดยมีหลักการ คือ จัดการอาหารแต่ละมื้อให้มีความแตกต่างกันในเรื่อง สี กลิ่น รสชาติ และ

                   เนื้อสัมผัส เพื่อช่วยกระตุ้นความอยากอาหาร เช่น อาหารควรมีสีเขียว สีแดง สีเหลือง หรือมีรสเปรี้ยว
                   เผ็ด เค็มบ้าง ลักษณะของอาหารควรนุ่ม กรอบ เป็นต้น

                           ใช้ภาชนะอุปกรณ์ในการรับประทานอาหารที่แห้งสะอาด สวยงาม ควรใช้ภาชนะสีขาว เพื่อความ
                   สะอาดและเห็นความงามของอาหาร ตลอดจนใช้ภาชนะเหมาะกับอาหารที่จะใส่ เช่น ชามใส่แกง จานเปลใส่
                   ปลาทอด ถ้วยใส่น้ำพริก เป็นต้น

                           จัดบรรยากาศสิ่งแวดล้อมในระหว่างรับประทานอาหารให้ดี เช่น จัดวางโต๊ะ เก้าอี้ และอุปกรณ์ที่ใช้
                   ในการรับประทานอาหารให้เป็นระเบียบเรียบร้อยและพร้อมใช้งาน เปิดหน้าต่างหรือเปิดพัดลมให้อากาศ

                   ถ่ายเทสะดวก จัดแจกันดอกไม้วางบนโต๊ะอาหาร มีภาพทิวทัศน์ที่สวยงามติดฝาผนัง หรือเปิดเพลงเบา ๆ
                   ในระหว่างรับประทานอาหาร เป็นต้น
                           [2] การจัดตกแต่งอาหารคาวเป็นการนำอาหารที่ประกอบเสร็จแล้วมาจัดใส่ภาชนะให้ถูกต้องและ

                   เหมาะสมกับลักษณะของอาหาร โดยมีหลักในการจัดดังต่อไปนี้
                           1. ขนาดและสัดส่วน โดยจัดอาหารให้มีขนาดและสัดส่วนเหมาะสมกับภาชนะ เช่น ภาชนะขนาด

                   เล็กควรจัดอาหารให้มีปริมาณพอดี ไม่ล้นออกนอกภาชนะ ถ้าเป็นโต๊ะอาหารขนาดเล็ก ภาชนะที่ใช้ควรมี
                   สัดส่วนที่เหมาะสม ไม่มีขนาดใหญ่จนแน่นโต๊ะอาหารหรือขนาดเล็กจนตักอาหารไม่ถนัด

                           2. ความกลมกลืน โดยจัดอาหารให้กลมกลืนกับภาชนะ เช่น อาหารประเภททอดควรจัดใส่จาน
                   อาหารประเภทน้ำควรจัดใส่ชาม อาหารภาคเหนือควรจัดแบบขันโตก อาหารภาคกลางควรจัดใส่จานที่
                   ดูสวยงาม สะอาด หรือมีลวดลายแบบไทย นอกจากนี้ผลไม้ควรจัดใส่ตะกร้าหรือถาดไม้ การตกแต่งอาหารให้

                   น่ารับประทาน
                           3. เอกภาพ โดยการรวมกลุ่มการจัดโต๊ะอาหาร เช่น การจัดจาน ช้อน ส้อม หรือชุดอาหารให้

                   เข้าชุดกันสำหรับการจัดอาหารในจานควรจัดให้พอเหมาะ ไม่แผ่กระจายซึ่งยากต่อการรับประทาน
                           4. การซ้ำ โดยทำในลักษณะเดิม ซึ่งเป็นการตกแต่งอาหารหรือภาชนะในลักษณะซ้ำกันแบบเดิม

                   เช่น การวางแตงกวาเรียงรอบขอบจาน เพื่อเน้นการจัดอาหารให้น่ารับประทาน
                           5. จังหวะ โดยจัดจังหวะในการตกแต่งอาหาร การจัดโต๊ะอาหารหรือการจัดตกแต่งอาหาร
                   ในภาชนะ เช่น การวางแตงกวาสลับกับมะเขือเทศเรียงรอบขอบจาน การจัดวางแจกันดอกไม้หรือเชิงเทียน

                   บนโต๊ะอาหาร









                                                          242
   241   242   243   244   245   246   247   248   249   250   251