Page 194 - เอกสารประกอบหลักสูตรเพื่อพัฒนาอาชีพ Re - Skill และ Up - Skill กลุ่มอาชีพเกษตรกรรม
P. 194

190


                               5) เลือกใช้ภาชนะที่มีก้นแบนและข้างตรง

                               6) ผ้าจับกระทะหรือหม้อ ควรจะเป็นผ้าแห้งสนิท ไม่ชื้นหรือเปียก
                               7) เมื่อใช้เสร็จแล้วควรถอดปลั๊กออกก่อนที่จะยกภาชนะลงจากเตา

                               8) ภาชนะที่ใช้ควรจะใช้พวกอะลูมิเนียม เพราะให้ความร้อนเร็วและสม่ำเสมอ
                          4. อุปกรณ์ในการเสิร์ฟ
                              4.1  การจัดอาหารคาวประเภทของน้ำ

                                แกงเผ็ด ควรใช้ชามกระเบื้อง อาจเป็นชามกลม ชามเปล มีฝาหรือไม่มีก็ได้ ควรมีจานรองให้
                   ได้ขนาดกับชามที่ใส่ การจัดการตักแกงควรตักประมาณ 3 ใน 4 ของชาม ให้มีน้ำและเนื้อพอเหมาะกัน

                                การจัดตกแต่งอาหารประเภทแกงเผ็ดให้น่ารับประทาน แกงเผ็ดน้ำควรจะข้น มีน้ำมัน
                   ลอยหน้าเล็กน้อย การจัดเสิร์ฟควรราดกะทิข้น ๆ ตกแต่งด้วยผักต่าง ๆ ที่ใช้ใส่แกงชนิดนั้น ๆ เช่น พริกชี้ฟ้า

                   เขียว พริกชี้ฟ้าแดง ใบโหระพา มะเขือเทศ มะอึก ฯลฯ
                                แกงส้ม ใช้ชามกระเบื้องอาจเป็นชามกลมหรือชามเปล มีจานรองเช่นเดียวกับแกงเผ็ด
                                การจัดตกแต่งแกงส้มให้น่ารับประทาน จัดให้ผักและเนื้อปลาหรือไข่ปลาหรือกุ้งนูนสูงขึ้น

                   มาตรงกลางพอสมควรจะทำให้ชวนน่ารับประทานยิ่งขึ้น
                                แกงจืด ต้มยำ ต้มโคล้ง ควรใช้หม้อหยวนโล้ เพราะรับประทานร้อน ๆ จึงจะอร่อย ถ้าไม่มี

                   หม้อ ให้แช่ชามกระเบื้องแบบเดียวกันในน้ำร้อนให้ร้อนจัด จึงตักแกงใส่ จะช่วยให้ร้อนนานขึ้น
                                การจัดตกแต่งแกงจืด มักนิยมแต่งด้วยผักชีเด็ดเป็นใบ ๆ และต้นหอมหั่นเป็นท่อน ๆ ยาว
                   ประมาณ 1 นิ้ว

                                การจัดตกแต่งต้มยำ ต้มข่า มักโรยผักชีเด็ดเป็นช่อ ๆ สลับกับพริกขี้หนูเขียวแดงบุบ
                   พอแตก หรือพริกแห้งคั่ว หอมฉีกเป็นชิ้น ๆ ใส่ต้มยำ ต้มโคล้ง

                              4.2  การจัดอาหารคาวประเภทแห้ง
                                ผัดต่าง ๆ ใส่จานเปลหรือจานกลมแบน ตักอาหารให้อยู่ในขอบข้างจาน ให้พูนตรงกลาง
                   เล็กน้อย อย่าทำให้หน้าเรียบจนเกินไปแลดูน่ารับประทาน

                                การจัดควรจะให้เนื้อสัตว์และผักสลับกันให้น่าดู ไม่ใช่เนื้อสัตว์อยู่ล่าง ผักอยู่บนหมด หรือผัก
                   อยู่ล่างจนมองไม่เห็นผัก ก็แลดูไม่น่ารับประทาน ผัดบางอย่างควรโรยพริกไทยป่น ผัดบางอย่างที่ใส่ผักชี พริก

                   แดง ต้นหอม ควรเก็บผักนี้ไว้แต่งหน้าสด ๆ บ้าง
                                เครื่องจิ้ม ใช้จานเปลหรือจานกลมใหญ่ ถ้าเลี้ยงคนจำนวนมาก อาจใช้ถาดเงินจัดผักเป็น
                   หมวดหมู่สลับสีเป็นกอง ๆ ไม่ควรแกะสลักผักเกินความจำเป็น เพียงแต่ให้น่ารับประทานง่ายเท่านั้น ใส่ถ้วย

                   น้ำจิ้มไว้ในจานเดียวกันกับผักเสมอพร้อมด้วยเครื่องแนม เช่น ปลาดุกฟู กุ้งเผา ไข่เค็ม เป็นต้น
                                การจัดผัก ควรจัดให้เห็นขอบจานโดยรอบ ½ นิ้ว ควรมองเห็นจานระหว่างชนิดของผักแต่ละ

                   ชนิดจะทำให้ดูสะอาดน่ารับประทาน ไม่แน่นหรือรกตาจนเกินไป
                                ของทอดต่าง ๆ จัดวิธีเดียวกันคือ ควรเหลือที่ว่างริมขอบจานให้พองาม ไม่จัดเต็มหรือพูน
                   จานเกินไป จะมองดูไม่น่ารับประทานและไม่สะดวกในการตักรับประทาน








                                                          190
   189   190   191   192   193   194   195   196   197   198   199