Page 126 - เอกสารประกอบหลักสูตรเพื่อพัฒนาอาชีพ Re - Skill และ Up - Skill กลุ่มอาชีพเกษตรกรรม
P. 126
122
[1]
3. การเตรียมพันธุ์
( ที่มาของภาพประกอบ : สไลด์ ที่ 25 การพัฒนาผลิตภัณฑ์สมุนไพร
https://rae.mju.ac.th/goverment/20130325103535_2013_rae/Doc_25630311105015_91741.pdf )
การปลูกขมิ้นชันอาจใช้ท่อนพันธุ์ได้ 2 ลักษณะ ดังนี้
3.1 การเก็บรักษาหัวพันธุ์ โดยวางผึ่งไว้ในที่ร่ม แห้ง สะอาด ปราศจากโรค แมลง และสัตว์ต่าง ๆ มารบกวน
มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก หรือฝังเหง้าพันธุ์ในทรายหยาบที่สะอาด เย็นในที่ร่ม
3.2 การจัดเตรียมหัวพันธุ์
- การปลูกโดยใช้หัวแม่ น้ำหนักประมาณ 15 - 50 กรัม ใช้ 1 หัวต่อหลุม หากหัวพันธุ์มีขนาดใหญ่มาก
ให้ตัดเป็นท่อน ๆ มีตาติดอยู่ไม่น้อยกว่า 2 ตา
- การปลูกโดยใช้แง่ง น้ำหนักประมาณ 10 กรัม และมีตา 2 - 3 ตาต่อแง่ง โดยใช้ 2 - 3 แง่ง ต่อหลุม
ก่อนนำลงปลูกในแปลงควรแชด้วยยากันราและยาฆ่าเพลี้ย เพื่อป้องกันโรคหัวเน่าและกำจัดเพลี้ย ซึ่งอาจติดมากับท่อน
พันธุ์ และมักจะระบาดมากขึ้นในช่วงปีที่ 2 - 3 ของการปลูก หากมิไดรับการเอาใจใสปองกันให้ดีก่อนปลูก เช่น
ใช้ใบพลู เปล้าน้อย และต้นตะไคร้หอม บดแห้ง อัตรา 10,000 ppm คลุกกับหัวพันธุ์ก่อนปลูก หรือแช่ด้วยไตร
โครเดอร์มา ควรระมัดระวังการใช้สารเคมีโดยสวมถุงมือยางที่มีสภาพเรียบร้อยไม่ขาด และควรสวมหน้ากากด้วย
ก่อนปลูกขมิ้นชันควรรองก้นหลุมด้วยปุ๋ย สูตร 13 - 13 - 21 อัตรา 50 กก./ ไร่ และวางท่อนพันธุ์ลงในแปลงกลบดิน
หนาประมาณ 5-10 เซนติเมตร หลังจากนั้นขมิ้นชันจะใช้เวลาในการงอกประมาณ 30 - 70 วันหลังปลูก
........................................
1 การจัดการการผลิตขมิ้นชันในระบบเกษตรอินทรีย์เพื่อเพิ่มผลผลิต. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก.
https://rae.mju.ac.th/goverment/20130325103535_2013_rae/Doc_25630311105015_91741.pdf. (วันที่สืบค้น
ข้อมูล 26 กรกฎาคม 2564)
122