Page 122 - เอกสารประกอบหลักสูตรเพื่อพัฒนาอาชีพ Re - Skill และ Up - Skill กลุ่มอาชีพเกษตรกรรม
P. 122
118
- ขมิ้นชันไม่ทนทานต่อสภาพน้ำท่วมขัง
- ไม่ควรปลูกในพื้นที่เดิม ติดต่อกันเกิน 2 - 3 ปี ควรเว้นพื้นที่ไว้ 1 ปี เพื่อป้องกันการสะสมของเชื้อโรค
3. สภาพดิน
3.1 ลักษณะของเนื้อดิน ขมิ้นชันเจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนปนทราย ระบายน้ำได้ดี
3.2 ความลึกของหน้าดิน หน้าดินที่เหมาะสำหรับการเจริญเติบโตของขมิ้นชัน ควรมีความลึก 30 เซนติเมตร และ
ร่วนซุย
3.3 ปริมาณอินทรียวัตถุ ปริมาณอินทรียวัตถุในดินควรมีมากกว่า 2 %
3.4 การนำไฟฟ้าของดิน มีค่าการนำไฟฟ้าของดิน (EC) เท่ากับ 2 dS/m
3.5 ความเป็นกรด - ด่างของดิน ขมิ้นชันเจริญเติบโตและพัฒนาเหง้าได้ดีในสภาพดินที่มี pH 5-7
3.6 ข้อจำกัด
- ดินเหนียว หรือดินลูกรัง ไม่เหมาะกับการเจริญเติบโต และการพัฒนาของเหง้าขมิ้นชัน
- ดินเป็นด่างจัด ไม่เหมาะกับการเจริญเติบโตของขมิ้นชัน
- ดินที่มีสภาพเป็นกรด เอื้อให้เกิดโรคเน่าของเหง้าและรากจากเชื้อแบคทีเรีย
(ที่มาของภาพประกอบ : สไลด์ ที่ 21 การพัฒนาผลิตภัณฑ์สมุนไพร
https://rae.mju.ac.th/goverment/20130325103535_2013_rae/Doc_25630311105015_91741.pdf )
118