Page 200 - เอกสารประกอบหลักสูตรเพื่อพัฒนาอาชีพ Re - Skill และ Up - Skill กลุ่มอาชีพเกษตรกรรม
P. 200

ใบความรู้ที่ 3

                                      เรื่อง วัตถุดิบสำหรับการทำอาหารคาวเพื่อสุขภาพ



                   ส่วนประกอบของอาหารคาวเพื่อสุขภาพ
                           [1]  วัตถุดิบในการทำอาหาร คือ สิ่งที่สำคัญเป็นอย่างมากที่คุณต้องใส่ใจในการเลือกสรร เพื่อให้ได้
                   อาหารที่ดีที่สุดมอบแก่ลูกค้าของคุณ รวมไปถึงไม่กระทบต่อผลกำไรของการทำธุรกิจ สิ่งที่ทำให้ลูกค้าหรือ

                   ผู้บริโภคเลือกใช้บริการที่ร้านอาหารของคุณหรือกลับมาใช้บริการอีกครั้ง (การซื้อซ้ำ ๆ หมายถึง ลูกค้าประจำ)
                   อาจเกิดจากหลายปัจจัยประกอบกัน แต่ขึ้นชื่อว่าเป็นร้านอาหารสิ่งที่สำคัญอย่างมากซึ่งเป็นพื้นฐาน หรือ

                   มาตรฐานที่จะต้องรักษาไว้ตลอดเวลา คือ ความอร่อย หากลูกค้าพบว่าอาหารของคุณไม่อร่อย หรือไม่สด
                   สะอาด แม้ว่าอาจจะเกิดขึ้นเพียงครั้งเดียวจากความผิดพลาดอะไรก็แล้วแต่ ย่อมทำให้เสียภาพลักษณ์และ
                   แบรนด์ของร้าน และอาจสูญเสียลูกค้าไปได้ แม้ว่าคุณจะให้บริการที่ดีก็ตาม ดังนั้น คุณจึงต้องใส่ใจในการปรุง

                   อาหารที่มีรสชาติอร่อยอยู่เสมอ และอาหารที่อร่อยเริ่มต้นมาจากการคัดสรรวัตถุดิบที่มีคุณภาพนั่นเอง
                   คุณภาพของวัตถุดิบที่นำมาประกอบอาหารจึงเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องใส่ใจต้องมีคุณภาพมากที่สุด มีกระบวนการ

                   สั่งซื้อและเก็บรักษาที่เหมาะสม วัตถุดิบที่ใช้ในการทำอาหารคาว ได้แก่
                             1. คาร์โบไฮเดรต (Carbohydrate) เป็นสารชีวโมเลกุลที่ทำหน้าที่สะสมพลังงาน ที่พบใน
                   ชีวิตประจำวันทั่วไป ได้แก่ น้ำตาล แป้ง เซลลูโลส  และไกลโคเจน โดยที่ส่วนใหญ่พบแป้งและเซลลูโลสในพืช

                   ส่วนไกลโคเจนพบในเซลล์เนื้อเยื่อ น้ำไขข้อ และผนังเซลล์ของสัตว์
                             [2] 2. โปรตีน (Protein) คือ สารอาหารที่มีความจำเป็นต่อร่างกายเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะ

                   สารอาหารโปรตีนมีในกระบวนการสร้างเสริมเซลล์เพื่อการเจริญเติบโต ซึ่งสารอาหารโปรตีนจะถูกนำไปใช้เป็น
                   องค์ประกอบสำคัญในด้านโครงสร้างของร่างกาย คือ การสร้างกล้ามเนื้อ เนื้อเยื่อและกระดูก พร้อมทั้งช่วย
                   เสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย รวมถึงช่วยในการซ่อมแซมส่วนต่าง ๆ ของร่างกายที่มีการเสื่อมสลายลงไป

                   อีกด้วย โดยเฉพาะการซ่อมแซมผิวหนังและเซลล์เม็ดเลือดแดง เป็นต้น
                                นอกจากนี้เมื่อโปรตีนถูกสลายตัวด้วยน้ำ ไม่ว่าจะเป็นในกรดในด่างเข้มข้นหรือในความร้อน

                   จะเกิดการแตกตัวของโปรตีนออกมาเป็นสารเล็ก ๆ ที่เป็นได้ทั้งกรดและด่าง จึงมีการตั้งชื่อว่ากรดอะมิโน
                   เพราะในกรดอะมิโนจะแตกออกเป็น 2 กลุ่ม หรือกลุ่มที่มีภาวะเป็นกรด และกลุ่มที่มีภาวะเป็นด่าง และกรด
                   อะมิโนเหล่านี้ก็เป็นสารประกอบหนึ่งที่พบอยู่ในโปรตีนเป็นจำนวนมากอีกด้วย ซึ่งโดยปกติแล้วโปรตีนก็จะ

                   ประกอบด้วยกรดอะมิโน 35 - 300 หน่วย โดยหากโปรตีนมีขนาดเล็ก เช่น ไตรเพปไทด์ก็จะประกอบด้วย


                   ..........................................................
                          1  วัตถุดิบในการปรุงอาหาร. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก
                   https://w54620632.readyplanet.site/17535810/วัตถุดิบในการปรุงอาหาร. (วันที่สืบค้นข้อมูล 24 กรกฎาคม 2564).
                          2  โปรตีนสารอาหารที่ร่างกายขาดไม่ได้. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก
                   https://amprohealth.com/nutrition/protein/. (วันที่สืบค้นข้อมูล 24 กรกฎาคม 2564).








                                                          196
   195   196   197   198   199   200   201   202   203   204   205