Page 151 - เอกสารประกอบหลักสูตรเพื่อพัฒนาอาชีพ Re - Skill และ Up - Skill กลุ่มอาชีพเกษตรกรรม
P. 151
กลุ่มอาชีพเกษตรกรรม
หลักสูตร การปลูกพืชสมุนไพรพื้นบ้าน ขมิ้นชัน
147
ใบความรู้ที่ 5.1
เรื่อง การตลาดพืชสมุนไพรขมิ้นชัน
รัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตระหนักถึงความสำคัญของการพัฒนาสมุนไพรไทย จึงได้พิจารณาเห็นชอบ
แผนแม่บทแห่งชาติว่าด้วยการพัฒนาสมุนไพรไทย ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2560 - 2564 (กระทรวงสาธารณสุข,2560) โดยมี
เป้าหมายเพื่อส่งเสริมและและรักษาภูมิปัญญาอันทรงคุณค่าที่เกี่ยวกับสมุนไพรไทย อีกทั้งเพื่อพัฒนาการผลิตและใช้
ประโยชน์สมุนไพรอย่างมีคุณภาพ เต็มประสิทธิภาพแบบครบวงจร ซึ่งจะส่งให้เกิดผลต่อความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน
ของสมุนไพรไทย และการสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจของไทย ทั้งนี้ภายใต้แผนแม่บทแห่งชาติฯ ได้มีการกำหนด
รายการสมุนไพรที่มีศักยภาพของประเทศ เพื่อให้เกิดทิศทางที่ชัดเจนในการวางแผนพัฒนาสมุนไพรให้ครบวงจรเป็น
รายชนิด พัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ออกสู่ตลาดและสร้างเศรษฐกิจให้กับประเทศได้ โดยกำหนด roduct Champion มิติด้าน
ศักยภาพ 5 ชนิด ได้แก่ กวาวเครือขาว กระชายดำ ขมิ้นชัน บัวบก และมะขามป้อม ขมิ้นชันเป็นหนึ่งในบรรดาสมุนไพร
ไทยที่มีศักยภาพสูง แต่ยังขาดทิศทางยุทธศาสตร์การวิจัยรายสินค้า และข้อเสนอเชิงนโยบายในการส่งเสริมและ
สนับสนุนการวิจัยเพื่อให้สามารถเป็นแนวทางในการกำหนดทิศทางและเป้าหมายในการส่งเสริมและสนับสนุนการวิจัย
ขมิ้นชันได้โดยสอดคล้องกับแผนแม่บทแห่งชาติ ว่าด้วยการพัฒนาสมุนไพรไทย ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2560-2564 และ
ยุทธศาสตร์เกษตรและสหกรณ์ ระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2560 - 2579) ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กระทรวงเกษตรและ
สหกรณ์, 2560)
[1]
SME รุกตลาดสมุนไพร
ศูนย์วิจัยกสิกรไทยประเมินว่า ในปี 2562 ตลาดสมุนไพรที่ใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตผลิตภัณฑ์ใน
อุตสาหกรรมต่อเนื่องจะมีมูลค่าไม่ต่ำกว่า 18,200 ล้านบาท และน่าจะมีโอกาสพุ่งไปสู่ระดับ 20,000 ล้านบาท
ได้ภายในปี 2563 โดยมีปัจจัยหนุนจากเทรนด์การบริโภคของคนรุ่นใหม่ที่นิยมใช้สมุนไพรเป็นทางเลือกในการดูแล
สุขภาพ และนโยบายส่งเสริมการใช้สมุนไพรของรัฐ ได้มีการส่งเสริมให้โรงพยาบาล/สถานพยาบาลใช้สมุนไพรทดแทน
การนำเข้ายาแผนปัจจุบัน ทั้งนี้ ตลาดรองรับที่มีความต้องการสูงในระยะข้างหน้า ได้แก่ กลุ่มธุรกิจด้านการแพทย์
และความงาม รวมถึงกลุ่มนักท่องเที่ยวและตลาดส่งออก
ขมิ้นชัน คือ หนึ่งในกลุ่มสมุนไพร Product Champion ของไทยที่มีศักยภาพในการต่อยอดเชิงพาณิชย์
โดยเฉพาะความต้องการเพื่อใช้ประโยชน์ด้านสุขภาพและการแพทย์ ซึ่งเป็นโอกาสทางการตลาดให้กับผู้ผลิต ผลิตภัณฑ์
สมุนไพรจากขมิ้นชันในรูปแบบออร์แกนิคหรือสารสกัดที่ได้มาตรฐานรับรองด้านความปลอดภัย โดยมีกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย
คือ กลุ่มธุรกิจอาหารเสริม ยาและโรงพยาบาล นอกเหนือจากเดิมที่นิยมใช้ในธุรกิจผลิตอาหารและเครื่องสำอาง
แม้ว่าจะมีโอกาสทางการตลาด แต่ความท้าทายในธุรกิจที่สำคัญคือ ความเชื่อถือของผู้บริโภคที่มีต่อ
ผลิตภัณฑ์สมุนไพร หรือผู้ประกอบการจำเป็นต้องมีการควบคุมการผลิตให้ได้คุณภาพและมาตรฐาน เพียงพอที่จะ
สร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภค ควบคู่ไปกับการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ ให้เท่าทันเทรนด์การบริโภคของตลาด
........................................
1 ถึงเวลาโกยเงิน SME รุกตลาดสมุนไพร. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก.
https://www.kasikornbank.com/th/business/sme/KSMEKnowledge/article/KSMEAnalysis/Documents/Herb_Mar
ket.pdf. (วันที่สืบค้นข้อมูล 27 กรกฎาคม 2564)
147