Page 39 - รวมโครงสร้างหลักสูตรเพื่อพัฒนาอาชีw re-skill และ up-skill
P. 39
หลักสูตรเพื่อการพัฒนาอาชีพ
re-skill และ up-skill เล่มที่ 1
35
ชื่อหลักสูตร การทำอาหารหวานเพื่อสุขภาพ
จำนวน 38 ชั่วโมง
กลุ่มอาชีพ เกษตรกรรม
ความเป็นมา
ตามที่กระทรวงศึกษาธิการได้มีการกำหนดนโยบาย “Quick Win” 7 วาระเร่งด่วน ได้แก่ ความปลอดภัย
ของผู้เรียน หลักสูตรฐานสมรรถนะ บิ๊กดาต้า (Big Data) การขับเคลื่อนศูนย์ความเป็นเลิศอาชีวศึกษา การพัฒนา
ทักษะทางอาชีพ การศึกษาตลอดชีวิต และการจัดการศึกษาสำหรับผู้ที่มีความต้องการเป็นพิเศษ สำนักงาน กศน.
จึงได้มีการนำนโยบายที่เกี่ยวข้อง 2 วาระ สำคัญ คือ การพัฒนาทักษะทางอาชีพ และการศึกษาตลอดชีวิต
มาดำเนินการขับเคลื่อน โดยการจัดทำโครงการจัดทำหลักสูตรเพื่อการพัฒนาอาชีพ Re - Skill และ Up - Skill
จำนวนหลักสูตร 5 กลุ่มอาชีพ คือ หลักสูตรกลุ่มอาชีพเกษตรกรรม อุตสาหกรรม พาณิชยกรรมและบริการ
ความคิดสร้างสรรค์ และอาชีพเฉพาะทาง เพื่อพัฒนาประชาชนให้มีความรู้ ความเข้าใจในการพัฒนาและต่อยอด
ประกอบอาชีพของตนเอง รวมถึงการส่งเสริมการรวมกลุ่มเพื่อผลิตและพัฒนาผลิตภัณฑ์ในชุมชน อันจะส่งผล
ให้เกิดการสร้างงาน สร้างอาชีพ สร้างรายได้ประชาชนหรือกลุ่มเป้าหมายที่อยู่ในชุมชน ต่อไป
เพื่อสนองต่อนโยบายการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาอาชีพ ที่สอดคล้องกับความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย
และสถานศึกษามีความพร้อมในการบริการตามสภาพบริบท เพื่อส่งเสริมการจัดการศึกษาพัฒนาอาชีพ Re - Skill
และ Up - Skill สำหรับประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
(COVID-19) สำนักงาน กศน. จึงได้จัดทำหลักสูตรการทำอาหารหวานเพื่อสุขภาพ เป็นหลักสูตรในกลุ่ม เสริม
ภูมิคุ้มกันไวรัสให้แก่ร่างกาย โดยการบริโภคอาหารที่มีส่วนประกอบของสมุนไพรเสริมภูมิคุ้มกันไวรัสโคโรนา
2019 (COVID-19) ได้แก่ กระชาย ขิง ฟ้าทะลายโจร มะขามป้อม ขมิ้นชัน เป็นต้น สอดคล้องกับคำกล่าวที่ว่า
“รับประทานอาหารเป็นยา” เมนูอาหารได้รับการพัฒนาจากผู้ทรงคุณวุฒิด้านอาหารและโภชนาการ เป็นเมนู
ที่พัฒนาขึ้นใหม่ ที่มีวิธีการประกอบอาหารหวานเพื่อสุขภาพไม่ยุ่งยาก รสชาติอาหารเหมาะสมกับคนไทย แต่เปี่ยม
ไปด้วยคุณค่าของสารอาหารที่เสริมภูมิคุ้มกัน จัดทำขึ้นเพื่อตอบสนองนโยบายของสำนักงาน กศน. ที่มุ่งส่งเสริม
การจัดการศึกษาพัฒนาอาชีพเพื่อการมีงานทำ Re - Skill และ Up - Skill ให้แก่ประชาชนที่ได้รับผลกระทบจาก
สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)
35