Page 224 - เอกสารประกอบหลักสูตรเพื่อพัฒนาอาชีพ Re - Skill และ Up - Skill กลุ่มอาชีพเกษตรกรรม
P. 224
ใบความรู้ที่ 4.1
เรื่อง การทำอาหารคาวเพื่อสุขภาพ ต้มโคล้งมะขามป้อม
(ที่มาภาพประกอบ : กลุ่มพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษา)
การจัดทำอาหารคาวสุขภาพในครั้งนี้ ได้นำวัตถุดิบที่เกี่ยวกับสมุนไพรต้านโควิดมาเป็น
ส่วนประกอบสำคัญ เนื่องจากในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)
สมุนไพรไทยที่กระทรวงสาธารณสุขให้การรับรองว่าสามารถช่วยรักษาโรคได้ ซึ่งได้มีการใช้กันมายาวนาน
เป็นภูมิปัญญารุ่นต่อรุ่น สอดคล้องกับคำกล่าวที่ว่า “รับประทานอาหารเป็นยา” และได้มีการนำมาเป็น
ส่วนประกอบสำหรับการทำอาหารประเภทต่าง ๆ เช่น อาหารคาว อาหารว่าง และเครื่องดื่ม เป็นต้น
ด้วยสรรพคุณที่โดดเด่น ราคาไม่สูง และสามารถเสริมภูมิคุ้มกันไวรัสให้แก่ร่างกาย โดยการบริโภคอาหารที่มี
ส่วนประกอบของสมุนไพรเสริมภูมิคุ้มกันไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) เมนูอาหารคาวนี้ได้รับการพัฒนา
จากผู้ทรงคุณวุฒิด้านอาหารและโภชนาการ เป็นเมนูที่พัฒนาขึ้นใหม่ ที่มีวิธีการประกอบอาหารคาว
เพื่อสุขภาพไม่ยุ่งยาก รสชาติอาหารเหมาะสมกับคนไทย แต่เปี่ยมไปด้วยคุณค่าของสารอาหารที่เสริมภูมิคุ้มกัน
แต่ทั้งนี้ผู้เรียนต้องจัดทำอาหารคาวเพื่อสุขภาพให้มีความชำนาญ มีรสชาติที่ใกล้เคียงกันทุกครั้งที่ได้จัดทำ
การจัดทำอาหารหวานสุขภาพ จะมีการยกตัวอย่าง 3 ชนิด ได้แก่
1. การทำต้มโคล้งมะขามป้อม ซึ่งแสดงรายละเอียดสัดส่วน ขั้นตอนและเทคนิคการทำต่าง ๆ ในใบ
ความรู้ที่ 4.1
2. ปีกไก่ทอดคั่วขมิ้น ซึ่งแสดงรายละเอียดสัดส่วน ขั้นตอนและเทคนิคการทำต่าง ๆ ในใบความรู้ที่4.2
3. น้ำพริกกระชายผัด ซึ่งแสดงรายละเอียดสัดส่วน ขั้นตอนและเทคนิคการทำต่าง ๆ ในใบ
ความรู้ที่ 4.3
220