Page 185 - เอกสารประกอบหลักสูตรเพื่อพัฒนาอาชีพ Re - Skill และ Up - Skill กลุ่มอาชีพเกษตรกรรม
P. 185
กลุ่มอาชีพเกษตรกรรม
หลักสูตร การท�าอาหารคาวเพื่อสุขภาพ
181
ข้อแนะนำในการทำอาหารคาวเพื่อสุขภาพ
1. การทำอาหารคาวจะให้ดี รสอร่อยถูกใจผู้รับประทานนั้น ขึ้นอยู่กับสิ่งต่อไปนี้
2. ต้องมีเครื่องปรุงครบตามตำรับ เช่น น้ำตาลทราย น้ำเชื่อม เกลือ น้ำผึ้ง ฯลฯ
3. เครื่องปรุงทุกอย่างต้องมีคุณภาพ
4. มีเครื่องมือเครื่องใช้ครบ เช่น พิมพ์ต่าง ๆ เครื่องปั่น เครื่องบด
5. ผู้เริ่มหัดต้องชั่งตวงให้ถูกต้อง เช่น ตวงของแห้งต้องร่อนก่อนตวง ไม่อัดจนแน่นหรือเขย่า
6. หมั่นฝึกหัดและอ่านตำราหาความรู้เพิ่มเติมอยู่เสมอ
7. ช่างประดิษฐ์ รู้จักปรุงแต่งรสให้อร่อย รู้จักพลิกแพลงให้ถูกใจผู้รับประทาน
8. ไม่ทำตามใจตัว ต้องคิดถึงผู้รับประทานชอบอย่างไร
9. ประมาณส่วนผสมให้เหมาะสม
10. วัตถุดิบต้องสะอาด คัดเลือกอย่างพิถีพิถัน ไม่ให้เสื่อมคุณภาพ
11. ผักที่ใช้ต้องสดจริง ๆ และต้องไม่ล้างจนหมดรส
12. ทำของมากหรือน้อยต้องรู้จักเพิ่มหรือลดส่วนผสมให้ถูกต้อง พอเหมาะพอดีไม่ขาดไม่เกิน
สุขลักษณะของผู้ประกอบอาหารคาวเพื่อสุขภาพ
สุขลักษณะของผู้ประกอบอาหารคาวเป็นเรื่องสำคัญมาก เพราะอาหารคาวเป็นการติดต่อของโรคที่
สำคัญที่สุด โดยรับประทานเข้าไปถ้าไม่สะอาด อาหารคาวก็จะเป็นตัวนำพาหะทำให้ผู้บริโภคติดโรค ฉะนั้น
ผู้ประกอบอาหารคาวเพื่อสุขภาพ จึงควรปฏิบัติดังนี้
1. ผู้ประกอบอาหารคาวต้องไม่เป็นโรคติดต่อ
2. สวมเสื้อผ้าที่สะอาด และควรใส่ผ้ากันเปื้อน หรือสวมเสื้อคลุมที่สะอาด
3. สวมเน็ตคลุมผมหรือหมวกเพื่อป้องกันผมร่วง
4. ล้างมือและแปรงผมทุกครั้งก่อนลงมือทำอาหาร
5. ขณะประกอบอาหารคาว ระวังอย่าไอ จาม พูด หรือหัวเราะรดอาหาร
6. เมื่อสิ่งใดเปื้อนควรล้างและเช็ดเสียก่อน
7. ใช้มือจับต้องอาหารคาวให้น้อยที่สุด
8. การหั่นหรือปอก เศษอาหารควรมีภาชนะรองรับแล้วนำไปทิ้ง
9. ควรทำไปเก็บไป อย่าปล่อยให้สกปรก
10. ชิมอาหารไม่ควรใช้ช้อนหรือทัพพีที่คนอาหารชิม
11. ขณะทำอาหารว่างไม่ควรใช้มือเกาหรือป้ายตามร่างกาย
12. เมื่อออกจากห้องน้ำหรือห้องส้วม ต้องล้างมือด้วยสบู่ให้สะอาด
181