Page 133 - เอกสารประกอบหลักสูตรเพื่อพัฒนาอาชีพ Re - Skill และ Up - Skill กลุ่มอาชีพเกษตรกรรม
P. 133
กลุ่มอาชีพเกษตรกรรม
หลักสูตร การปลูกพืชสมุนไพรพื้นบ้าน ขมิ้นชัน
129
5.5 โรคของขมิ้นชัน ที่พบได้แก่
[2]
- โรคเหี่ยว คือโรคที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Pseudomonas solanacearum ทำให้ต้นมีอาการใบเหลือง
ต้นเหี่ยว หัวเน่าและมีเมือกสีขาวข้น ซึมออกมาตรงรอยแผล อุณหภูมิและความชื้นในดินสูงจะเอื้ออำนวยต่อการ
เกิดโรคโดยเฉพาะอย่างยิ่งในดินชื้นที่อุณหภูมิสูงกว่า 24 องศาเซลเซียส
- โรคเหง้าและรากเน่า คือ การให้น้ำมากเกินไปหรือเกิดจากการปลูกซ้ำที่เดิมหลาย ๆ ครั้ง ทำให้เกิด
การสะสมของเชื้อโรค สาเหตุของโรคเหง้าและรากเน่า มีดังนี้
1. โรคเหง้าเน่า เกิดจากเชื้อรา Pythium aphanidermatum และ Pythium graminicolum
2. โรครากเน่า เกิดจากเชื้อรา Fusarium oxysporum และ Fusarium zingiberi
( ที่มาของภาพประกอบ : สไลด์ ที่ 43 และ 45 การพัฒนาผลิตภัณฑ์สมุนไพร
https://rae.mju.ac.th/goverment/20130325103535_2013_rae/Doc_25630311105015_91741.pdf )
การป้องกันกำจัด
- พื้นที่ปลูกมีการระบายนำดี ไม่เคยปลูกขมิ้นชันที่เป็นโรคหรือพืชที่เป็นพืชอาศัยของโรคมาก่อน
- หากเคยปลูกพืชที่เป็นพืชอาศัยของโรค ควรกำจัดวัชพืช ไถพรวน และผึ่งดินให้แห้งก่อนปลูก
อย่างน้อย 1 เดือน
........................................
2 ขั้นตอนการปลูกและการดูแลรักษาขมิ้นชัน. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก.
http://www.agriman.doae.go.th/home/Research/Herb57/206.pdf. (วันที่สืบค้นข้อมูล 26 กรกฎาคม 2564)
129