Page 31 - เอกสารประกอบหลักสูตรเพื่อพัฒนาอาชีพ Re - Skill และ Up - Skill กลุ่มอาชีพเกษตรกรรม
P. 31
กลุ่มอาชีพเกษตรกรรม
หลักสูตร การปลูกพืชสมุนไพรพื้นบ้าน ฟ้าทะลายโจร
27
แนวคำตอบ ใบงานที่ 1 เรื่อง ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับพืชสมุนไพรพื้นบ้าน ฟ้าทะลายโจร
1. ตอบ ลักษณะทั่วไปของพืชสมุนไพรพื้นบ้าน ฟ้าทะลายโจร
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Andrographis paniculata (Burm.f.) Wall.ex Nees
ชื่อสามัญ : Kariyat , The Creat
วงศ์ : ACANTHACEAE
ชื่ออื่น เช่น
- กรุงเทพฯ : น้ำลายพังพอน ฟ้าละลายโจร
- สงขลา : หญ้ากันงู
- พนัสนิคม) : ฟ้าสาง
- ร้อยเอ็ด : เขยตายยายคลุม สามสิบดี
- ยะลา : เมฆทะลาย
- พัทลุง : ฟ้าสะท้าน
ถิ่นกำเนิด : อินเดีย จีน และศรีลังกา
2. ตอบ ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของพืชสมุนไพรพื้นบ้าน ฟ้าทะลายโจร
1. ลำต้น ฟ้าทะลายโจรจัดเป็นพืชล้มลุกที่มีลำต้นสูงประมาณ 30-70 เซนติเมตร หรือประมาณ 1-2
ศอก ลำต้นเป็นสี่เหลี่ยม แตกกิ่งมาก ทุกส่วนของต้นมีรสขม กิ่งเป็นใบสีเหลี่ยม
2. ใบ คือ เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงตรงข้ามกัน ลักษณะใบรูปไข่รียาว แคบโคนใบ และปลายใบแหลม ขอบ
ใบเรียบ แผ่นใบเรียบเกลี้ยงมีสีเขียว
3. ดอก คือ ออกดอกเป็นช่อ ตามซอกใบและปลายกิ่ง ดอกมีขนาดเล็ก สีขาว กลีบรองดอกมี 5 กลีบ
กลีบดอกมี 5 กลีบ โคนติดกันเป็นหลอดปลายแยกเป็น 2 ทาง กลีบล่างมี 2 อัน อับเกสรสีม่วงแดง และมีขนยาว ๆ
4. ผล คือ เป็นฝัก เมื่อแก่เป็นสีน้ำตาล แตกได้ ภายในมีเมล็ดจำนวนมาก คล้ายฝักต้อยติ่ง แต่ผอม
และมีขนาดเล็ก เมื่อฝักแก่จะแตกออกเป็น 2 ซีกอยู่บนต้น ซึ่งทำให้มองเห็นเมล็ดวางอยู่ในผลได้ชัด ปลายแหลม
และเมล็ดในสีน้ำตาลอ่อน
3. ตอบ ความสำคัญของพืชสมุนไพรพื้นบ้าน ฟ้าทะลายโจรในด้านต่าง ๆ นำเสนอ 5 ด้าน ได้แก่
2.1 ด้านการแพทย์และสาธารณสุข
2.2 ด้านอาหารและการบริโภค
2.3 ด้านเศรษฐกิจ
2.4 ด้านอุตสาหกรรม
2.5 ด้านเกษตรกรรม
27