Page 33 - เอกสารประกอบหลักสูตรเพื่อพัฒนาอาชีพ Re - Skill และ Up - Skill กลุ่มอาชีพเกษตรกรรม
P. 33
กลุ่มอาชีพเกษตรกรรม
หลักสูตร การปลูกพืชสมุนไพรพื้นบ้าน ฟ้าทะลายโจร
29
3. ฟ้าทะลายโจรมีกลไกการออกฤทธิ์ 3 ประการ ได้แก่ ฤทธิ์ลดไข้ ต้านการอักเสบ และลดอาการจาก
การหวัด พบว่า มีฤทธิ์ลดการแบ่งตัวของเชื้อไวรัสและทำให้ความสามารถของเชื้อไวรัสในการเกาะติดกับ
ผนังเซลล์ลดลง ทำให้เชื้อไวรัสเข้าสู่เซลล์ได้ยากขึ้น นอกจากนี้ฟ้าทะลายโจรยังมีฤทธิ์กระตุ้นภูมิคุ้มกัน ทำให้มี
ร่างกายสามารถต่อสู้กับเชื้อไวรัสได้ดีขึ้น
4. ฟ้าทะลายโจรเป็นยาจากสมุนไพรในบัญชียาหลักแห่งชาติของประเทศไทย โดยมีข้อบ่งใช้ในการ
บรรเทาอาการของโรคหวัด (common cold) เช่น เจ็บคอ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ น้ำมูกไหล และบรรเทาอาการ
ท้องเสียชนิดไม่ติดเชื้อ
สำหรับโรคหรือภาวะอื่นที่ถูกกล่าวถึง เช่น รักษาอาการเจ็บคอ ไอ ต่อมทอนซิลบวม หลอดลม
อักเสบ และอาการแพ้ ป้องกันโรคหัวใจและโรคเบาหวาน แมลงกัด โรคตับ โรคไข้เมดิเตอร์เรเนียน ลดไข้ บรรเทา
อาการในระบบย่อยอาหาร (ท้องเสียแบบไม่ติดเชื้อ ท้องผูก มีแก๊ซในกระเพาะอาหารมาก ปวดท้อง) โรคเกี่ยวกับตับ
(ภาวะตับโต ดีซ่าน ตับอักเสบจากการใช้ยา) การติดเชื้อ (โรคเรื้อน โรคปอดบวม วัณโรค โรค หนองใน การติดเชื้อ
เอชไอวีหรือโรคเอดส์) หรืออาการทางผิวหนังอื่น ๆ ซึ่งการวิจัยและค้นคว้าข้อมูลบางส่วน ที่เชื่อว่าฟ้าทะลายโจร
[1]
อาจมีส่วนช่วยโรคเหล่านี้ มีดังนี้
โรคหวัด ฟ้าทะลายโจรนิยมใช้รักษาโรคไข้หวัดตามตำราแพทย์แผนไทยมาตั้งแต่อดีต เนื่องจาก
มีสารสำคัญทางพฤกษศาสตร์หลายชนิด เช่น ไดเทอร์ปีนแลคโตน (Diterpene Lactones) ฟลาโวนอยด์
(Flavonoid) และสารประกอบอื่น ๆ ซึ่งมักเชื่อว่าช่วยกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายให้ทำงานดีชื้น
จากการศึกษาเรื่องการวัดประสิทธิภาพการใช้สารสกัดจากฟ้าทะลายโจร เพื่อลดการเกิดโรคหวัด
และบรรเทาอาการของโรคในผู้ป่วย 158 คน โดยให้กลุ่มทดลองรับประทานสารสกัดฟ้าทะลายโจร 1,200
มิลลิกรัมต่อวัน เปรียบเทียบกับยาหลอกเป็นเวลา 5 วัน ซึ่งจะมีการตรวจดูอาการผู้ป่วยก่อนเริ่มการทดลอง วันที่ 2
และวันที่ 4 ของการทดลองด้วยการตอบแบบสอบถาม โดยจะวัดความรุนแรงของอาการปวดหัว อ่อนเพลีย ปวดหู
นอนไม่หลับ เจ็บคอ คัดจมูก มีเสมหะ ความถี่และความรุนแรงของอาการไอ ผลปรากฏว่า กลุ่มที่รับประทาน
สารสกัดจากฟ้าทะลายโจรมีอาการของโรคบางอาการลดลงภายในวันที่ 2 และอาการลดลง ทั้งหมดภายในวันที่ 4
โดยช่วยลดอาการเจ็บคอมากที่สุด ตามมาด้วยอาการคัดจมูกและปวดหู เมื่อเปรียบเทียบกับยาหลอก อีกทั้งยังไม่
พบผลช้างเคียง
สอดคล้องกับงานวิจัยเปรียบเทียบประสิทธิภาพของยา Kan Jang (ประกอบด้วยสารสกัดของฟ้า
ทะลายโจรและสมุนไพรอื่น) กับยาสมุนไพรชนิดอื่นในผู้ป่วยโรคหวัดไม่รุนแรง อายุ 4-11 ปี จำนวน 130 คน เป็น
ระยะเวลา 10 วัน โดยแบ่งออกเป็นกลุ่มที่รับการรักษาปกติ กลุ่มที่ได้รับยา Kan Jang ควบคู่กับการรักษาปกติ และกลุ่ม
ที่ได้รับยาสมุนไพรอื่นเป็นการรักษาเสริมร่วมกับการรักษาปกติ ผลพบว่ากลุ่มที่ได้รับยา Kan Jang มีอาการคัดจมูกและ
น้ำมูกลดลง รวมถึงใช้เวลาในการรักษาน้อยลงและไม่พบผลช้างเคียง แต่กลุ่มที่ได้รับ ยาสมุนไพรชนิดอื่นคู่กับการ
รักษาแบบปกติไม่พบผลลัพธ์ในลักษณะเดียวกัน จึงเชื่อว่ายา Kan Jang อาจช่วย บรรเทาอาการโรคหวัดให้ลดลง
..........................................................
1 ธนโชติ ธรรมชาติ.(2559).ฟ้าทะลายโจร (วิจัยนี้นี้เป็นส่วนหนึ่งของศูนย์ปฏิบัติการวิจัยและเรือนปลูกพืชทดลอง
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน). นครปฐม : มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน.
29