Page 26 - เอกสารประกอบหลักสูตรเพื่อพัฒนาอาชีพ Re - Skill และ Up - Skill กลุ่มอาชีพเกษตรกรรม
P. 26
22
ด้านอุตสาหกรรม
(ที่มาของภาพประกอบ : https://kasikornresearch.com/th/analysis/k-social-media/Pages/ThaiHerb-
FB200420.aspx)
[6] ฟ้าทะลายโจร ถูกพูดถึงมากขึ้นในช่วงของการระบาดของโรคโควิด (COVID - 19) ในประเทศไทย
เนื่องจากเป็นสมุนไพรที่มีสารสำคัญอย่างแอนโดรกราโฟไลด์ ที่ช่วยเสริมภูมิคุ้มกันไวรัสที่ทำให้เกิดการติดเชื้อ
ทางเดินหายใจได้ ด้วยเหตุนี้ ในช่วง 1-2 เดือนที่ผ่านมา ฟ้าทะลายโจรจึงเริ่มเป็นที่ต้องการของตลาดมากขึ้น
ปัจจุบันฟ้าทะลายโจรถูกบรรจุอยู่ในบัญชียาหลักแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และถูกส่งเสริมให้ใช้เป็นกลุ่มยาลำดับแรก
(First line drug) เพื่อทดแทนยาแผนปัจจุบัน อาทิ Amoxicillin และ Norfloxacin โดยมีข้อบ่งชี้ทางยาคือ
แก้ไข้ เจ็บคอ รวมถึงรักษาอาการท้องเสีย
เมื่อวิเคราะห์ถึงสถานภาพของฟ้าทะลายโจรในไทยจะพบว่า ในปี 2561 ไทยมีเนื้อที่เพาะปลูก
ฟ้าทะลายโจร ประมาณ 138 ไร่ ใน 3 จังหวัดหลัก คือ นครปฐม ราชบุรี และลำปาง ซึ่งให้ผลผลิตราว 188,724
กก./ปี โดยผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในห่วงโซ่การผลิตฟ้าทะลายโจรจะมีอยู่ 3 กลุ่มหลัก คือ ผู้ผลิตขั้นต้น (กลุ่มเกษตรกร)
ผู้ผลิตขั้นกลาง (โรงงานแปรรูปสมุนไพร) และผู้ผลิตขั้นปลาย (กลุ่มธุรกิจยาและโรงพยาบาล) โดยผลผลิต
ส่วนใหญ่ที่ผลิตได้จะถูกแปรรูปและนำมาสกัดเป็นสารตั้งต้นเพื่อนำไปใช้ในอุตสาหกรรมต่อเนื่อง ซึ่งหลัก ๆ ก็คือ
การผลิตสินค้าในกลุ่มยาเพื่อทดแทนยาแผนปัจจุบัน ดังนั้น การบริโภคส่วนใหญ่จึงอยู่ที่ตลาดในประเทศ โดยหาก
ไล่มูลค่าเพิ่มที่เกิดขึ้นตลอดห่วงโซ่การผลิตจะพบว่า ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยอยู่ที่ 36.8 บาท/กก. แต่หากอยู่
ในรูปแบบผงฟ้าทะลายโจรจะอยู่ที่ 300 - 600 บาท/กก. ในขณะที่สารสกัดจากฟ้าทะลายโจรราคาจะอยู่ที่
2,500-3,500 บาท/กก. สะท้อนถึงความสำคัญในการแปรรูปและมูลค่าตลาดที่เพิ่มขึ้นกว่า 10 - 100 เท่า
22