Page 27 - เอกสารประกอบหลักสูตรเพื่อพัฒนาอาชีพ Re - Skill และ Up - Skill กลุ่มอาชีพเกษตรกรรม
P. 27

กลุ่มอาชีพเกษตรกรรม
                                     หลักสูตร การปลูกพืชสมุนไพรพื้นบ้าน ฟ้าทะลายโจร


                                                                                                      23

                             ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า หลังเกิดสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 ความต้องการ

                   ฟ้าทะลายโจรที่เพิ่มมากขึ้น ทั้งจากลูกค้าทั่วไป (B2C) และกลุ่มลูกค้าในอุตสาหกรรมต่อเนื่อง (B2B) น่าจะผลักดัน
                   ให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในห่วงโซ่การผลิตขยายกำลังการผลิตฟ้าทะลายโจร อย่างไรก็ดี การผลิตสมุนไพรกลุ่มฟ้าทะลายโจร
                   ในไทยยังมีความท้าทายอยู่ไม่น้อย ประเด็นแรก คือ ผลผลิตในปัจจุบันที่ยังมีไม่มากนัก ซึ่งหากมีความต้องการในตลาด

                   เพิ่มสูงในระยะสั้น ดังเช่นช่วง COVID-19 อาจเกิดความไม่เพียงพอของผลผลิต แม้ว่าในระยะหลังจะมีการส่งเสริม
                   ให้สามารถเพาะปลูกได้ทั่วประเทศ แต่ก็ยังมีความท้าทายประการที่สอง นั่นคือ ความไม่สม่ำเสมอของผลผลิตและ

                   ปริมาณสารสำคัญที่ได้จากผลผลิตภายใต้การผลิตแบบระบบเปิด ซึ่งจะขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อม โดยเฉพาะสภาพอากาศ
                   และพื้นที่เพาะปลูกเป็นสำคัญ ส่งผลให้ปัจจุบันไทยยังไม่สามารถขยายการผลิตได้อย่างรวดเร็วหรือแม้กระทั่งจะขยับ
                   ไปสู่การส่งออก ดังนั้น ภาครัฐจึงสนับสนุนให้มีการปลูกสมุนไพรในโรงงานผลิตพืช (Plant Factory) ที่มีระบบปิด

                   เพื่อให้ได้คุณภาพของสมุนไพรที่สูง และสามารถควบคุมสภาพแวดล้อม ซึ่งจะได้ปริมาณสารสำคัญมากขึ้นและ
                   ผลผลิตมีความสม่ำเสมอ สามารถป้อนสู่ตลาดอุตสาหกรรมต่อเนื่อง แต่ก็คงไม่ใช่เรื่องง่ายนัก โดยเฉพาะสำหรับ

                   กลุ่มเกษตรกรส่วนใหญ่ ที่มีข้อจำกัดเรื่องงบประมาณในการลงทุน เพราะต้นทุนการผลิตเริ่มต้นยังสูงอยู่ที่ราว
                   3 ล้านบาท ซึ่งหากจะสามารถทำได้คงต้องอาศัยเวลา ทั้งในเรื่องของความพร้อมด้านการลงทุนและองค์ความรู้
                   ด้านเทคโนโลยีการผลิตขั้นสูง นอกจากนี้ หากวิเคราะห์มิติด้านการตลาดของฟ้าทะลายโจร ก็อาจจะต้องแข่งขัน

                   กับสินค้าทดแทนอื่นๆ ที่มีสรรพคุณทางยาที่ใกล้เคียงกัน อาทิ ยาพาราเซตามอล เอ็กไคเนเซีย (Echinacea: สมุนไพร
                   ท้องถิ่นของสหรัฐฯ/แคนาดา) รวมถึงตำรับยาจีนและตำรับยาไทยบางกลุ่ม

                             ทั้งนี้ ศักยภาพการเติบโตของฟ้าทะลายโจรในไทย ประการสำคัญคงอยู่ที่การเพิ่มประสิทธิภาพ
                   การเพาะปลูกและการสร้างมูลค่าเพิ่มไปสู่การใช้เป็นสารตั้งต้นในกลุ่มยาและอาหารเสริม เพื่อให้สอดรับไปกับ
                   นโยบายภาครัฐที่ต้องการยกระดับการผลิตพืชสมุนไพร และต่อยอดการแปรรูปสมุนไพรไปสู่อุตสาหกรรมต่อเนื่อง

                   เป้าหมายตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจชีวภาพ (Bioeconomy) ซึ่งทุกฝ่ายคงต้องร่วมกันสนับสนุนอย่างจริงจัง
                   อนึ่งหากในอีก 3 ปีข้างหน้า ภายใต้เงื่อนไขผลผลิตฟ้าทะลายโจรระบบเปิดสามารถเพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 5 และมี

                   โรงงานผลิตพืชเพื่อใช้ในการผลิตฟ้าทะลายโจรเพิ่มขึ้นอย่างน้อย 5 แห่ง ประเมินว่าจะสามารถทำให้ผลผลิต
                   ฟ้าทะลายโจรทั้งระบบเพิ่มขึ้นราว 17 - 22% จากผลผลิตในปัจจุบัน เป็น 220,800 - 230,200 กก./ปี
                   โดยผลผลิตที่ได้จากโรงงานผลิตพืชที่มีปริมาณสารสำคัญมากขึ้น น่าจะสามารถจำหน่ายได้ในราคาที่สูงขึ้นราว

                   1.5 - 2.0 เท่า







                   ..........................................................

                          6  ฟ้าทะลายโจร ยกระดับการผลิตสมุนไพรไทย สู่อุตสาหกรรมยา. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก
                   https://kasikornresearch.com/th/analysis/k-social-media/Pages/ThaiHerb-FB200420.aspx. (วันที่สืบค้นข้อมูล 27
                   กรกฎาคม 2564)






                                                           23
   22   23   24   25   26   27   28   29   30   31   32