Page 32 - เอกสารประกอบหลักสูตรเพื่อพัฒนาอาชีพ Re - Skill และ Up - Skill กลุ่มอาชีพเกษตรกรรม
P. 32

ใบความรู้ที่ 2

                                เรื่อง ประโยชน์และสรรพคุณของพืชสมุนไพรพื้นบ้าน ฟ้าทะลายโจร


                             ฟ้าทะลายโจรเป็นไม้ล้มลุก สูง 30 - 70 ซม. ทุกส่วนมีรสขม กิ่งเป็นใบสี่เหลี่ยม ใบเดี่ยว

                   แผ่นใบสีเขียวเข้มเป็นมัน ดอกช่อออกที่ปลายกิ่งและซอกใบ ดอกย่อย กลีบดอกสีขาว โคนกลีบติดกัน ปลายแยก 2 ปาก
                   ปากบนมี 3 กลีบ มีเส้นสีม่วงแดงพาดอยู่ ปากล่างมี 2 กลีบ ผลเป็นฝักเมื่อแก่เป็นสีน้ำตาลแตกได้ ภายในมีเมล็ด
                   จำนวนมาก ส่วนที่ใช้เป็นยา ได้แก่ ทั้งต้น ใบสด ใบแห้ง ใบจะเก็บมาใช้เมื่อต้นมีอายุได้ 3 - 5 เดือน
















                                 (ที่มาของภาพประกอบ : ศูนย์ฝึกและพัฒนาอาชีพราษฎรไทยบริเวณชายแดนสระแก้ว)


                   คุณประโยชน์ของฟ้าทะลายโจร

                             1. ใบฟ้าทะลายโจร มีสารเคมีประกอบอยู่หลายประเภท แต่ที่เป็นสารสำคัญในการออกฤทธิ์ คือ
                   สารกลุ่ม Lactone คือ สารแอดโดรกราโฟไลด์ (andrographolide) สารนีโอแอนโดรกราโฟไลด์ (neo-
                   andrographolide) 14 - ดีอ๊อกซี่แอนโดรกราโฟไลด์ (14-deoxy-andrographolide)

                             2. ฟ้าทะลายโจรเป็นยาเก่าแก่ของประเทศจีน ใช้ในการรักษาฝี แก้อักเสบ และรักษาโรคบิด
                   การวิจัยด้านเภสัชวิทยาพบว่า ฟ้าทะลายโจรสามารถยับยั้งเชื้อแบคทีเรียอันเป็นสาเหตุของการเป็นหนองได้ และ

                   มีการศึกษาวิจัยของโรงพยาบาลบำราศนราดูร ถึงฤทธิ์ในการรักษาโรคอุจจาระร่วงและบิด แบคทีเรียเปรียบเทียบกับ
                   เตตราซัยคลิน ในผู้ป่วย 200 ราย อายุระหว่าง 16 - 55 ปี ได้มีการเปรียบเทียบระยะเวลาที่ถ่ายอุจจาระเหลว
                   จำนวนอุจจาระเหลว น้ำเกลือที่ให้ทดแทนระหว่างฟ้าทะลายโจรกับเตตราซันคลิน พบว่าสมุนไพรฟ้าทะลายโจร

                   ลดจำนวนอุจจาระร่วงและจำนวนน้ำเกลือที่ให้ทดแทนอย่างน่าพอใจ แม้ว่าจากการทดสอบทางสถิติจะไม่มีความแตกต่าง
                   ทางนัยสำคัญก็ตาม ส่วนการลดเชื้ออหิวาตกโรคในอุจจาระ ฟ้าทะลายโจรไม่ได้ผลดีเท่าเตตราซัยคลิน นอกจากนี้

                   ยังมีโรงพยาบาลชุมชนบางแห่งได้ใช้ฟ้าทะลายโจรรักษาอาการเจ็บคอได้ผลดีอีกด้วย มีฤทธิ์เช่นเดียวกับเพนนิซิลิน
                   เมื่อเทียบกับยาแผนปัจจุบันเท่ากับเป็นการช่วยให้มีผู้สนใจทดลองใช้ยานี้รักษาโรคต่าง ๆ มากขึ้น







                                                           28
   27   28   29   30   31   32   33   34   35   36   37