Page 34 - เอกสารประกอบหลักสูตรเพื่อพัฒนาอาชีพ Re - Skill และ Up - Skill กลุ่มอาชีพเกษตรกรรม
P. 34

30

                                ทั้งนี้ สรรพคุณของฟ้าทะลายโจรต่อโรคหวัดมีการศึกษาค่อนช้างมาก การด้นคว้าส่วนใหญ่พบ

                   หลักฐานที่มีความน่าเชื่อถือและระบุประสิทธิภาพของการรักษาอยู่ในระดับที่อาจเป็นไปได้ (Possibly Effective) จึง
                   คาดว่าฟ้าทะลายโจรอาจมีส่วนช่วยบรรเทาอาการจากโรคหวัดสำหรับผู้ป่วยที่มีอาการไม่รุนแรง และค่อนข้างปลอดภัย

                   ในการรับประทาน เนื่องจากจากการศึกษาไม่พบผลช้างเคียง ซึ่งอาจเป็นอีกตัวเลือกเสริมของการรักษาโรคหวัดทั่วไป
                                 โรคลำไสใหญ่อักเสบ ฟ้าทะลายโจรมีคุณสมบัติช่วยยับยั้งการหลั่งสารที่ก่อให้เกิดอาการอักเสบ
                   ในร่างกาย ต้านอนุมูลอิสระ การแข็งตัวของเลือด และยังพบรายงานว่าสารสกัดจากฟ้าทะลายโจรช่วยป้องกัน

                   โรค สำไส้ใหญ่อักเสบจากการทดลองในสัตว์ อีกทั้งยังถูกบรรจุเป็นยาสมุนไพรในบัญชียาหลักแห่งชาติของ
                   กระทรวง สาธารณสุขในหมวดกลุ่มอาการของระบบทางเดินอาหาร จึงมักนำมาใช้ประโยชน์ในการรักษาและ

                   บรรเทาโรคลำไส้อักเสบ
                                จากการศึกษาประสิทธิภาพและความปลอดภัยของสารสกัดจากฟ้าทะลายโจรในผู้ป่วยโรคลำไส้ใหญ่
                   อักเสบที่มีอาการของโรคในระดับเบาจนถึงปานกลาง จำนวน 120 คน เป็นระยะเวลา 8 สัปดาห์โดยให้

                   รับประทานสารสกัดจากฟ้าทะลายโจร 1,200 มิลลิกรัมต่อรัน เปรียบเทียบกับกลุ่มที่ได้รับยาเมซาลาซีน
                   (Mesalazine) ซึ่งเป็นยาหลักที่ใช้ในการรักษาโรคลำไส้ใหญ่อักเสบ 4,500 มิลลิกรัมต่อรัน จากนั้นมีการประเมินผล

                   ทุก 2 สัปดาห์ และเช้ารับการส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่หลังจบการทดลอง ผลพบว่า อัตราการตอบสนองของ
                   ผู้ป่วยและอาการของโรคลดลงมีความใกล้เคียงกัน สารสกัดจากฟ้าทะลายโจรก็อาจเป็นประโยชน์ในการพัฒนาใช้
                   ในการรักษาเช่นเดียวกับยาเมซาลาซีน

                                เช่นเดียวกับงานวิจัยอีกชิ้นที่ศึกษาประสิทธิภาพของสารสกัดจากฟ้าทะลายโจรที่มีอาการของ
                   โรคในระดับเบาจนถึงปานกลาง จำนวน 224 คน โดยแบ่งให้รับประทานสารสกัดจากฟ้าทะลายโจร 2 กลุ่ม ได้แก่

                   1,200 มิลลิกรัมต่อรัน และ 1,800 มิลลิกรัมต่อวัน เปรียบเทียบกับกลุ่มสุดท้ายที่ได้รับยาหลอกในระยะเวลา
                   8 สัปดาห์ ผลพบว่า กลุ่มที่ได้รับสารสกัดจากฟ้าทะลายโจร 1,800 มิลลิกรัมต่อวัน มีผลการตอบสนองทางคลินิก
                   และช่วยบรรเทาอาการของโรคได้ดีกว่ากลุ่มที่ได้รับยาหลอก โดยเฉพาะกลุ่มที่ได้รับสารสกัดจากฟ้าทะลายโจร

                   ในปริมาณ 1,800 มิลลิกรัมต่อวันมีแนวโน้มที่ได้ผลดีกว่ากลุ่มอื่น ๆ อย่างไรก็ตาม ยังพบอาการไม่พึงประสงค์
                   ในผู้ป่วยทั้ง 3 กลุ่ม โดยกลุ่มที่รับประทานฟ้าทะลายโจรพบรายงานการเกิดผื่นประมาณ 8% ขณะที่กลุ่มที่ได้รับยา

                   หลอกมีอัตราการเกิดผื่นประมาณ 1% ทั้งนี้ ผื่นที่เกิดชิ้นเป็นผลข้างเคียงที่ไม่ค่อยรุนแรงและไม่กระทบต่อการรักษา
                                อย่างไรก็ตาม จากข้อมูลในข้างต้นเชื่อว่าฟ้าทะลายโจรอาจมีความเป็นไปได้ในการบรรเทา

                   อาการของโรคลำไส้ใหญ่อักเสบได้ เช่นเดียวกับยาเมซาลาซีนที่ใช้เป็นรักษาโรคลำไส้ใหญ่อักเสบในปัจจุบัน แต่ควร
                   ระมัดระวังในการใช้อย่างเหมาะสมและอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์เป็นสำคัญ เนื่องจากการใช้ฟ้าทะลายโจร
                   ยังเป็นการแพทย์ทางเลือกและพบรายงานผลข้างเคียงจากการศึกษาอยู่บางส่วน จึงยังต้องการงานวิจัยสนับสนุน

                   เพิ่มเติมเพื่อช่วยยืนยัน
                                ลดอาการไข้และอาการเจ็บคอที่มีสาเหตุจากต่อมทอนซิลอักเสบ ต่อมทอนซิลอักเสบเป็น

                   การอักเสบของต่อมทอนซิลจากการติดเชื้อในช่องคอ ด้วยสรรพคุณช่วยระงับอาการอักเสบและต้านการติดเชื้อของ
                   ฟ้าทะลายโจร บางส่วนจึงนิยมรับประทานสมุนไพรชนิดนี้ตามความเชื่อของสูตรยาแผนโบราณ

                                จากการศึกษาประสิทธิภาพของสารสกัดจากฟ้าทะลายโจรในผู้ป่วยระบบทางเดินหายใจส่วนบน
                   ไม่รุนแรง 223 คน แบ่งเป็นกลุ่มที่รับประทานสารสกัดจากฟ้าทะลายโจร 200 มิลลิกรัมต่อวัน และอีกกลุ่ม






                                                           30
   29   30   31   32   33   34   35   36   37   38   39