Page 156 - เอกสารประกอบหลักสูตรเพื่อพัฒนาอาชีพ Re - Skill และ Up - Skill กลุ่มอาชีพเกษตรกรรม
P. 156
152
ใบความรู้ที่ 5.3
เรื่อง การคิดคำนวณต้นทุนผลผลิต
ธุรกิจ SMEs มักประสบปัญหาที่สำคัญประการหนึ่ง คือขณะที่ธุรกิจกำลังดำเนินไปด้วยดี กลับพบว่าขายดี
แต่ไม่มีกำไรมากเท่าที่ควรจะเป็น หรือผู้ประกอบการหลายรายผลิตสินค้าออกมา กลับประสบกับภาวะการขาดทุน
โดยไม่รู้ตัว นั่นเป็นเพราะผู้ประกอบการไม่รู้ต้นทุนที่แท้จริงของสินค้าที่ขาย การคำนวณต้นทุนผลผลิตจึงเป็นส่วนหนึ่ง
ของระบบบัญชีและการเงินของกิจการ เป็นการบันทึกการวัดผล และรายงานข้อมูลเกี่ยวกับต้นทุนของสินค้าของ
กิจการ โดยทั่วไปการคำนวณต้นทุนจะใช้เวลาและลงรายละเอียดมากในกิจการที่ผลิตสินค้า แต่ไม่ได้หมายความว่า
กิจการประเภทอื่น เช่นกิจการขายส่ง ขายปลีก ร้านอาหารหรือบริการต่าง ๆ ไม่มีความสำคัญในการที่ต้องคำนวณ
ต้นทุนเลย การคำนวณต้นทุนสามารถนำไปใช้ได้ในทุกกิจการ เพราะมีความสำคัญต่อการบริหารจัดการธุรกิจ ดังนี้
1. เพื่อให้ทราบถึงต้นทุนการผลิตและต้นทุนขายของธุรกิจ
2. เพื่อสามารถนำต้นทุนทั้งหมดของกิจการมาเปรียบเทียบกับรายได้จากการขายเพื่อจะได้ทราบว่ามี
กำไร หรือขาดทุนในการขายสินค้า
3. เพื่อคำนวณหรือตีราคาสินค้าคงเหลือที่ขายได้ไม่หมดว่ามีมูลค่าเท่าไหร่
4. เพื่อใช้ในการวางแผนและควบคุมการซื้อสินค้า และจัดทำงบประมาณในการซื้อสินค้า รวมทั้งต่อรอง
ราคากับผู้ขายวัตถุดิบ
5. เพื่อใช้ในการตัดสินใจว่าสินค้าใดควรขายต่อไปและสินค้าใดควรเลิกขาย (ในกรณีที่ผู้ผลิตมีสินค้าหลายชนิด)
[1]
ต้นทุนแบ่งออกได้เป็น 2 ลักษณะ
1. ต้นทุนผันแปร คือต้นทุนที่ผันแปรตามจำนวนหน่วยที่ผลิตหรือขาย เช่น วัตถุดิบ ค่าแรงทางตรง
ค่าใช้จ่ายในการผลิตทางตรงเป็นต้น
2. ต้นทุนคงที่คือต้นทุนที่เกิดขึ้นไม่ว่ากิจการจะได้ขายสินค้าหรือไม่ ต้นทุนนี้จะไม่เปลี่ยนแปลงตาม
จำนวนหน่วยที่ผลิตหรือขาย เช่น เงินเดือนพนักงานหน้าร้าน ค่าเช่าร้าน ค่าเสื่อมราคา และค่าประกันภัย เป็นต้น
ดังนั้นต้นทุนการผลิตจะประกอบไปด้วยวัตถุดิบ บวกค่าแรงงาน บวกค่าใช้จ่ายในการผลิต ซึ่งทั้งสาม
รายการนี้เป็นเพียงส่วนของการผลิตเท่านั้น หากเราจะคิดต้นทุนรวมของสินค้าแล้วเราจำเป็นต้องนำค่าใช้จ่ายใน
การขายและดำเนินการมารวมด้วยเช่น เงินเดือน ค่าคอมมิชชั่นพนักงานขาย ค่าแรงพนักงานขายหน้าร้าน ค่าการตลาด
(โฆษณา,แผ่นพับ) ค่าเช่าสำนักงานและร้าน ค่าไฟฟ้าและน้ำประปา ค่าโทรศัพท์ ค่าน้ำมันรถ ดอกเบี้ย ค่าเช่ารถ
และค่าใช้จ่ายเบ็ดเตล็ด ฯลฯ เพื่อการคำนวณต้นทุนให้ใกล้เคียงความจริง หากเราคำนวณแค่วัตถุดิบ ค่าแรงงาน
และค่าน้ำค่าไฟฟ้า ก็อาจทำให้เราได้ต้นทุนสินค้าที่น้อยกว่าความเป็นจริง และมีผลทำให้ตั้งราคาขายที่ต่ำไปและ
อาจขาดทุนได้
........................................
1 การคำนวณต้นทุนการผลิตแบบง่าย. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก. https://bsc.dip.go.th/th/category/account2/fs-
productcost. (วันที่สืบค้นข้อมูล 27 กรกฎาคม 2564)
152