Page 155 - เอกสารประกอบหลักสูตรเพื่อพัฒนาอาชีพ Re - Skill และ Up - Skill กลุ่มอาชีพเกษตรกรรม
P. 155
กลุ่มอาชีพเกษตรกรรม
หลักสูตร การปลูกพืชสมุนไพรพื้นบ้าน ขมิ้นชัน
151
สะท้อนจากข้อมูลความต้องการสารสกัดจากขมิ้นชันอย่างเคอร์คูมินอยด์ในตลาดโลกคาดว่าจะ พุ่งไปอยู่ที่
ระดับ 300 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ได้ภายในปี 2566 ในขณะที่ความต้องการในประเทศ พบว่ายอดการสั่งใช้ยาจากบัญชี
ยาหลักแห่งชาติ ขมิ้นชันถูกเบิกใช้มากที่สุดในบรรดากลุ่มยาจากพืชสมุนไพร (ประมาณ 590,000 ครั้งต่อปี)
และปัจจุบันสารสกัดจากขมิ้นชันยังถูกขึ้นทะเบียน อย. สามารถใช้แทนยาแผนปัจจุบันในการบรรเทาปวดจากโรคข้อเสื่อม
ได้อีกด้วย ปัจจัยเหล่านี้ แสดงให้เห็นถึงความต้องการขมิ้นชันในเชิงทางแพทย์เพื่อการรักษา และสามารถแข่งขัน
ในตลาดกับยาแผนปัจจุบันได้มากขึ้น ซึ่งเป็นโอกาสทางการตลาดให้กับผู้ผลิตขมิ้นชัน โดยเฉพาะผู้ผลิตในรูปแบบ
ออร์แกนิค น้ำมันหอมระเหย หรือสารสกัดจากขมิ้นชันที่ได้มาตรฐานรับรองด้านความปลอดภัยซึ่งมีมูลค่าเพิ่มสูง
โดยมีกลุ่มลูกค้าที่สำคัญคือ กลุ่มธุรกิจอาหารเสริม ยาและโรงพยาบาล
(ที่มาของภาพประกอบ : https://www.kasikornbank.com/th/business/sme/KSMEKnowledge/article/
KSMEAnalysis/Documents/Herb_Market.pdf.)
ทั้งนี้ แม้ว่าโอกาสทางการตลาดสำหรับผลิตภัณฑ์สมุนไพรจะมีอยู่มาก แต่ความท้าทายของผู้ประกอบการ
ที่สำคัญคือ ความน่าเชื่อถือของผู้บริโภคที่มีต่อผลิตภัณฑ์ในแง่มุมต่าง ๆ โดยเฉพาะมาตรฐานการผลิต คุณภาพ
ความปลอดภัย ดังนั้น การควบคุมการผลิตให้ได้คุณภาพ และมาตรฐานเพียงพอที่จะสร้างความเชื่อมั่นให้กับ
ผู้บริโภค/ซัพพลายเออร์ (อาทิ การทราบแหล่งที่มา/กระบวนการผลิตที่ตรวจสอบย้อนหลังได้/การร่วมมือกับ
สถาบันวิจัยต่าง ๆ ในการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์) การตามให้เท่าทันเทรนด์การบริโภคของตลาด ตลอดจนการสร้าง
ประสบการณ์ที่ดีให้กับผู้บริโภค ผ่านการออกแบบบรรจุภัณฑ์ การสื่อความไปยังผู้บริโภคเกี่ยวกับการใช้ประโยชน์
และบริโภคสมุนไพรที่ถูกวิธี ปลอดภัยและเห็นผล ก็น่าจะช่วยยกระดับธุรกิจสมุนไพรของไทยให้เป็นที่ยอมรับใน
ระดับสากลได้
151