Page 157 - เอกสารประกอบหลักสูตรเพื่อพัฒนาอาชีพ Re - Skill และ Up - Skill กลุ่มอาชีพเกษตรกรรม
P. 157
กลุ่มอาชีพเกษตรกรรม
หลักสูตร การปลูกพืชสมุนไพรพื้นบ้าน ขมิ้นชัน
153
[1]
วิธีการคำนวณหาต้นทุนการผลิตแบบง่ายมีสูตรดังนี้
การคำนวณแบบง่าย ๆ นี้เหมาะกับผู้ประกอบการรายเล็กที่มีสินค้าหรือผลิตภัณฑ์น้อยชนิด อาจขาย
เพียงน้ำพริก หรือแชมพูก็ได้ ซึ่งเหมาะกับการคำนวณสินค้าประเภท OTOP ที่มีความชัดเจนในเรื่องการใช้วัตถุดิบ
ค่าแรงงานต่อรอบการผลิตและไม่มีการเก็บสต็อกวัตถุดิบไว้ การคำนวณจำเป็นต้องคิดเพื่อให้ทราบถึงต้นทุนผลิต
ต่อหน่วย และนำต้นทุนผลิตไปรวมกับค่าใช้จ่ายในการดำเนินการเพื่อให้ทราบถึงต้นทุนรวมของสินค้าอีกครั้งหนึ่ง
[2]
สำหรับธุรกิจ SMEs ที่เป็นธุรกิจผลิตที่ไม่ซับซ้อนมาก ผู้ประกอบการสามารถคำนวณต้นทุนได้ดังนี้
1. ต้นทุนวัตถุดิบ เป็นต้นทุนหลักในการผลิตสินค้า
ยกตัวอย่างการคำนวณง่าย ๆ เช่น ผู้ประกอบการที่ทำขนมขาย วัตถุดิบได้แก่ แป้ง น้ำตาล ไข่ เป็นต้น
รวมราคาวัตถุดิบที่ซื้อมาเท่ากับ 500 บาท และผลิตขนมออกมาได้ 1,000 ชิ้น ดังนั้นต้นทุนวัตถุดิบต่อขนม 1 ชิ้น
เท่ากับ 2 บาท หรืออีกวิธีหนึ่ง คือ คำนวณต้นทุนวัตถุดิบจากปริมาณที่ใช้จริง จากสมการนี้ต้นทุนวัตถุดิบ =
ปริมาณวัตถุดิบที่ใช้จริง x (ราคาที่ซื้อหารด้วยปริมาณที่ซื้อ) เช่น ธุรกิจที่ทำขนมขายซื้อแป้งสาลีมาในราคา 50
บาทต่อ 1,000 กรัม (1ถุง) ใช้แป้งทำขนมไปแค่ 80 กรัม ดังนั้นต้นทุนวัตถุดิบคือ 80x (50/1,000) เท่ากับ 4 บาท
2. ค่าแรงการผลิต
กรณีที่มีการจ้างพนักงานที่รับผิดชอบดูแลกระบวนการผลิต ค่าใช้จ่ายประเภทเงินเดือน ถือเป็นต้นทุน
การผลิตโดยตรง การคำนวณค่าแรงมีดังนี้ เช่น โรงงานผลิตสินค้าได้ 50,000 ชิ้นต่อวัน เงินเดือนของพนักงานที่
ดูแลกระบวนการผลิตมี 2 คนเงินเดือนรวมกัน เดือนละ 40,000 บาท ดังนั้น ต้นทุนค่าแรงต่อสินค้า 1 ชิ้นเท่ากับ
40,000/50,000 เท่ากับ 0.8 บาทต่อ สินค้า 1 ชิ้น เป็นต้น หรืออย่างกรณีของโรงงานทำขนมที่จ้างลูกจ้างรายวัน
เช่นค่าแรงวันละ400 บาท โดยเฉลี่ยผลิตขนมได้วันละ 1,000 ชิ้น ค่าแรงต่อขนม 1 ชิ้น เท่ากับ 0.4 บาท
3. ค่าใช้จ่ายในการผลิต ได้แก่ ค่าไฟฟ้า ค่าน้ำมันรถ ของเสียที่เกิดขึ้นในกระบวนการผลิต
3.1 ค่าไฟฟ้า โดยค่าไฟต่อสินค้า 1 ชิ้น คำนวณจากค่าไฟที่จ่ายจริงแต่ละเดือนหารด้วยปริมาณการผลิต
เช่น โรงงานผลิตสินค้า จ่ายค่าไฟในเดือนตุลาคม 100,000 บาท ผลิตสินค้าได้ 20,000 ชิ้น ดังนั้น ค่าไฟต่อ สินค้า 1 ชิ้น
เท่ากับ 5 บาท
3.2 ค่าน้ำมันรถ โดยคิดจากค่าน้ำมันที่ใช้จริงสำหรับรถแต่ละคัน หรือเทียบจากการใช้รถแท็กชี่โดย
เข้าไปดูราคาใน Application Grab
........................................
1 การคำนวณต้นทุนการผลิตแบบง่าย. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก. https://bsc.dip.go.th/th/category/account2/fs-
productcost. (วันที่สืบค้นข้อมูล 27 กรกฎาคม 2564)
153