Page 30 - รวมโครงสร้างหลักสูตรเพื่อพัฒนาอาชีw re-skill และ up-skill
P. 30

หลักสูตรเพื่อการพัฒนาอาชีพ
          re-skill และ up-skill เล่มที่ 1


                                                                                                    26

                   หลักการของหลักสูตร

                             หลักสูตรการทำอาหารคาวเพื่อสุขภาพ มีการกำหนดหลักการของหลักสูตรไว้ดังนี้
                             1. เป็นหลักสูตรการทำอาหารคาวเพื่อสุขภาพที่เน้นการใช้สมุนไพรมาเป็นวัตถุดิบเพื่อเสริมภูมิคุ้มกัน

                   โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)
                             2. เป็นหลักสูตรที่ให้ความสำคัญกับคุณค่าและประโยชน์ของวัตถุดิบต่าง ๆ ที่ร่างกายจะได้รับเพื่อ
                   เสริมภูมิคุ้มกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)

                             3. เป็นหลักสูตรที่ส่งเสริมการเพิ่มมูลค่าในการประกอบอาชีพการทำอาหารคาวเพื่อสุขภาพจาก
                   การเลือกใช้บรรจุภัณฑ์สำหรับตกแต่ง จัดเสิร์ฟ การคิดต้นทุน และช่องทางการจัดจำหน่าย

                             4. เป็นหลักสูตรที่สามารถนำไปประกอบอาชีพและสร้างรายได้ให้ทั้งตนเองและชุมชน

                   จุดหมาย

                             1. ผู้เรียนมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการทำอาหารคาวเพื่อสุขภาพ
                             2. ผู้เรียนมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับคุณค่าและประโยชน์ของวัตถุดิบที่นำมาใช้ในการทำอาหารคาว

                   เพื่อสุขภาพ
                             3. ผู้เรียนสามารถจัดทำอาหารคาวเพื่อสุขภาพ
                             4. ผู้เรียนมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการเพิ่มมูลค่าในการประกอบอาชีพการทำอาหารคาวเพื่อสุขภาพ

                   จากการเลือกใช้บรรจุภัณฑ์สำหรับตกแต่ง จัดเสิร์ฟ การคิดต้นทุน และช่องทางการจัดจำหน่าย
                             5. ผู้เรียนสามารถนำไปประกอบอาชีพและสร้างรายได้ให้ทั้งตนเองและชุมชน


                   กลุ่มเป้าหมาย
                             ประชาชนทั่วไปที่มีความสนใจในการพัฒนาและต่อยอดอาชีพ


                   ระยะเวลา
                             ระยะเวลาเรียนตลอดหลักสูตร จำนวน 46 ชั่วโมง แบ่งเป็น

                             1. ภาคทฤษฎี  จำนวน  16  ชั่วโมง
                             2. ภาคปฏิบัติ  จำนวน  30  ชั่วโมง










                                      (ที่มาของภาพประกอบ : กลุ่มพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษา)









                                                           26
   25   26   27   28   29   30   31   32   33   34   35