Page 19 - รวมโครงสร้างหลักสูตรเพื่อพัฒนาอาชีw re-skill และ up-skill
P. 19

หลักสูตรเพื่อการพัฒนาอาชีพ
                                                                 re-skill และ up-skill เล่มที่ 1


                                                                                                    15

                   โรคผิวหนัง ผื่นคัน ขับลม ท้องร่วง รักษาแผลในกระเพาะอาหาร เป็นต้น ขณะเดียวกันขมิ้นชันโดยเฉพาะในรูปแบบ

                   ผง ยังสามารถนำมาใช้เป็นส่วนประกอบสำคัญในการผลิตเครื่องสำอาง และผลิตภัณฑ์เสริมความงามอื่น ๆ เช่น
                   ครีมบำรุงผิว สบู่ และครีมขัดผิว ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนแบ่งตลาดค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับผลิตภัณฑ์ประเภทอื่น

                   ปัจจุบันมีการนำ ขมิ้นชันมาใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตเป็นผลิตภัณฑ์มากขึ้น การปลูกขมิ้นชันจะมีสารเคอร์คูมินอยด์
                   (Curcuminoid) ค่อนข้างสูง ส่งผลให้ตลาดมีความต้องการขมิ้นชันสูง ซึ่งสามารถปลูกและพัฒนาให้เป็นพืช
                   เศรษฐกิจได้ เกษตรกรผู้ปลูกขมิ้นชันหรือประชาชนผู้ที่มีความสนใจ สามารถนำความรู้ที่ได้ไปประกอบอาชีพ

                   เพื่อสร้างรายได้ หรือนำไปต่อยอดอาชีพ เพื่อมีอาชีพและสร้างรายได้เพิ่ม และรวมกลุ่มนำความรู้ที่ได้รับจาการ
                   ฝึกอาชีพไป    ต่อยอด อาชีพในระดับชุมชน โดยยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง สามารถพึ่งพาตนเองได้

                   และสามารถเป็นต้นแบบ เครือข่าย ให้กับชุมชนอื่นได้เป็นพืชสมุนไพรที่ได้รับความนิยมที่มีหลากหลายชนิด
                   สำนักงาน กศน. ได้เล็งเห็นความสำคัญของการปลูกขมิ้นชัน และส่งเสริมให้ประชาชนสามารถประกอบอาชีพ

                   การปลูกขมิ้นชัน จึงได้จัดทำหลักสูตรนี้ขึ้น

                   หลักการของหลักสูตร

                             หลักสูตรการปลูกพืชสมุนไพร ขมิ้นชัน มีการกำหนดหลักการของหลักสูตรไว้ดังนี้
                             1. เป็นหลักสูตรที่เน้นการปลูกสมุนไพร ขมิ้นชัน การดูแล ป้องกันโรคและศัตรูพืช ด้วยวิธีการ

                   เกษตรธรรมชาติ รวมทั้งการเก็บเกี่ยว การเก็บรักษาเพื่อคงสภาพสารสำคัญไว้ให้มาก
                             2. เป็นหลักสูตรที่เพิ่มมูลค่าผลผลิตสมุนไพรพื้นบ้าน ขมิ้นชัน โดยการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์
                   สมุนไพรต่าง ๆ

                             3. เป็นหลักสูตรที่ส่งเสริมให้เกษตรกรรวมกลุ่มกันเพื่อทำการตลาดสมุนไพร ขมิ้นชัน
                             4. เป็นหลักสูตรที่ให้ผู้เรียนได้นำความรู้และประสบการณ์ด้านการเกษตรมาใช้ในการปลูก การดูแล

                   สมุนไพรตามวิธีการของเกษตรธรรมชาติ โดยการเรียนรู้จากการปฏิบัติจริง

                   จุดหมาย

                             1. เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับลักษณะของสมุนไพร ขมิ้นชัน และประโยชน์ของ
                   สมุนไพรขมิ้นชันที่มีต่อการสาธารณสุข การเศรษฐกิจ และการอุตสาหกรรม

                             2. เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับประโยชน์และสรรพคุณของสมุนไพร ขมิ้นชัน
                             3. เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ ความสามารถ ในการปลูก การบำรุง การดูแลป้องกันศัตรูพืชและโรคต่าง ๆ
                   ของสมุนไพร ขมิ้นชัน

                             4. เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการเก็บเกี่ยว การเก็บรักษา และการแปรรูปสมุนไพร
                   พื้นบ้าน ขมิ้นชัน เป็นผลิตภัณฑ์อาหารและยาสมุนไพรประเภทต่าง ๆ

                             5. เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการสร้างมูลค่าเพิ่มของผลผลิต ทิศทางด้านการตลาด
                   และการคำนวณต้นทุนการผลิต การจัดจำหน่ายเพื่อสร้างรายได้









                                                           15
   14   15   16   17   18   19   20   21   22   23   24