Page 314 - เอกสารประกอบหลักสูตรเพื่อพัฒนาอาชีพ Re - Skill และ Up - Skill กลุ่มอาชีพเกษตรกรรม
P. 314
310
17. แปรรูปได้หลากหลาย
นอกจากจะสามารถกินเปล่า ๆ แล้ว มะขามป้อมยังนำไปทำเป็นเครื่องดื่ม หรือแปรรูปเป็นของ
กินเล่นอร่อย ๆ อย่าง มะขามป้อมแช่อิ่ม และใช้เป็นยาสมุนไพร ยาแก้ไอ หรือยาสระผม และยังนำไปทำเป็น
เครื่องสำอางและอาหารเสริมได้อีกด้วย
มะขามป้อม ข้อควรระวังที่ต้องรู้ก่อนทาน
ผู้ที่มีปัญหาเลือดจาง ผู้ที่แน่นท้องบ่อย ๆ และคนขี้หนาว ไม่ควรทานมะขามป้อมในปริมาณมาก ๆ
เพราะมะขามป้อมเป็นผลไม้ที่มีฤทธิ์เย็น หากกินเยอะอาจทำให้รู้สึกหนาวหรือมีอุณหภูมิในร่างกายลดลงได้
ดังนั้นผู้ที่มีอาการข้างต้นจึงควรระมัดระวังและควบคุมปริมาณการทานมะขามป้อมให้ดี หรือจะหันไปทานพวก
ผลไม้ที่มีฤทธิ์ร้อนแต่วิตามินซีสูงอย่าง ลำไย แทน
(ที่มาภาพประกอบ : โรงเรียนสอนอาหารครัววันดี)
[7]
3. อัญชัน เป็นพืชที่มีต้นกำเนิดในแถบอเมริกาใต้ ปลูกทั่วไปในเขตร้อน ลักษณะของดอก
อัญชันจะมีสีขาว สีฟ้า สีม่วง ส่วนตรงกลางดอกจะมีสีเหลือง และรูปทรงคล้ายหอยเชลล์ มีสรรพคุณที่เป็น
เอกลักษณ์เฉพาะตัว เพราะมีสารที่ชื่อว่า “แอนโทไซยานิน” (Anthocyanin) ซึ่งมีหน้าที่ไปช่วยกระตุ้นการ
ไหลเวียนของโลหิต ทำให้เลือดไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ได้ดีมากขึ้น เช่น ไปเลี้ยงบริเวณรากผม ซึ่งช่วยทำให้ผมดก
ดำ เงางาม หรือไปเลี้ยงบริเวณดวงตาจึงช่วยบำรุงสายตาไปด้วยในตัว หรือไปเลี้ยงบริเวณปลายนิ้วมือ ซึ่งก็จะ
ช่วยแก้อาการเหน็บชาได้ด้วย และที่สำคัญสารนี้ยังมีความโดดเด่นที่ใครหลาย ๆ คนยังไม่ทราบ นั่นก็คือช่วย
ลดความเสี่ยงของการเกิดเส้นเลือดอุดตันได้ และการ “กินดอกอัญชันทุกวัน...วันละหนึ่งดอก” จะช่วยป้องกัน
โรคเส้นเลือดสมองตีบได้อีกด้วย
เนื่องจากดอกอัญชันนั้นมีฤทธิ์ในการละลายลิ่มเลือด สำหรับผู้มีเลือดจางห้ามรับประทาน
ดอกอัญชันเด็ดขาด หรืออาหารเครื่องดื่มที่ย้อมสีด้วยอัญชันก็ไม่ควรรับประทานบ่อย ๆ ซึ่งมีประโยชน์และ
สรรพคุณ ดังนี้
..........................................................
7 อัญชัน ประโยชน์ดีๆ สรรพคุณเด่นๆ และข้อมูลงานวิจัย. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก
https://www.disthai.com/17028789/อัญชัน. (วันที่สืบค้นข้อมูล 24 กรกฎาคม 2564).
310