Page 216 - เอกสารประกอบหลักสูตรเพื่อพัฒนาอาชีพ Re - Skill และ Up - Skill กลุ่มอาชีพเกษตรกรรม
P. 216
212
8. ป้องกันโรคข้อเข่าอักเสบ
ในผู้สูงอายุนิยมใช้ขมิ้นชันรักษาอาการข้อตึง ปวดเมื่อยตามข้อเข่า ซึ่งอาจจะเป็นไปตามวัยหรือ
พฤติกรรมในชีวิตประจำวัน แต่ขมิ้นชันสามารถช่วยบรรเทาอาการปวดในโรคข้อเข่าเสื่อมได้ โดยมีการนำมาใช้
ทดแทนยาแผนปัจจุบันอย่างแพร่หลาย
9. ลดระดับไขมันในเส้นเลือด
สารไฟโตสเตอรอล (Phytosterols) ที่อยู่ในพืชธรรมชาติอย่างขมิ้นชันจะช่วยยับยั้งคอเลสเตอรอล
มีฤทธิ์ในการลดไขมันในเส้นเลือด ป้องกันความเสี่ยงในการเกิดโรคหลอดเลือดอุดตันและโรคหัวใจ
10. เสริมสร้างภูมิคุ้มกัน
ขมิ้นชันสามารถช่วยปรับสมดุลและสร้างภูมิคุ้มกันให้ร่างกาย โดยเฉพาะในปัจจุบันมีปัญหา
มลพิษฝุ่นละออง PM 2.5 ที่ส่งผลกระทบต่อร่างกาย ทำให้เป็นภูมิแพ้ได้ง่าย จึงนิยมกินขมิ้นชันเพื่อเป็นตัวช่วย
เสริมร่างกายให้แข็งแรงต่อมลพิษ
4. กระชาย
[12]
(ที่มาภาพประกอบ : โรงเรียนสอนอาหารครัววันดี)
การใช้กระชายในวัตถุประสงค์ต้านโรคโควิด (COVID - 19) นั้นยังคงเป็นการศึกษาในห้องทดลอง
โดยเลือกใช้สารสกัดจากกระชายขาว ซึ่งถูกนำมาสกัดใช้ในลักษณะของยา แต่หากนำมาใช้กินกันในอาหาร
ทั่วไป จะมีสรรพคุณ ดังนี้
- ใบกระชาย ใช้บำรุงธาตุ แก้โรคในปาก คอ ถอนพิษ แก้โลหิตเป็นพิษ
- เหง้าและรากกระชาย แก้บิด ขับปัสสาวะ ใช้เป็นยารักษาภายนอกทารักษาขี้กลาก
- เหง้าใต้ดินกระชาย แก้ปวดท้อง แก้มวนท้อง บำรุงกำลัง รักษาริดสีดวง
ประโยชน์ของกระชายที่พบเห็นทั่วไป
กระชายที่ใช้เป็นวัตถุดิบประกอบอาหาร พ่อครัวแม่ครัวมักจะใช้กระชายดำ แต่กระชายส่วนใหญ่
มีประโยชน์ได้ใกล้เคียงกัน ดังนี้
..........................................................
12 ประโยชน์และสรรพคุณของกระชาย. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก
https://www.thairath.co.th/lifestyle/life/1889689. (วันที่สืบค้นข้อมูล 24 กรกฎาคม 2564).
212