Page 13 - รวมโครงสร้างหลักสูตรเพื่อพัฒนาอาชีw re-skill และ up-skill
P. 13
หลักสูตรเพื่อการพัฒนาอาชีพ
re-skill และ up-skill เล่มที่ 1
9
การจัดกระบวนการเรียนรู้
วิธีการจัดกระบวนการเรียนรู้ใช้รูปแบบการเรียนรู้ที่หลากหลาย ดังนี้
1. การบรรยาย (Lecture)
2. การระดมสมอง (Brainstorming)
3. การอภิปราย (Discussion Method)
4. การชมคลิปวีดีโอการบรรยายและการสาธิต
5. การฝึกปฏิบัติ
หมายเหตุ การจัดกระบวนการเรียนรู้ แบ่งเป็น 3 ระยะ
ระยะที่ 1 เรื่องที่ 1 - 3 ศึกษาทฤษฎีและฝึกปฏิบัติจริงตามโครงสร้างหลักสูตร (เรียนรู้ร่วมกับวิทยากร)
ระยะที่ 2 เรื่องที่ 3 การปลูกพืชสมุนไพร ผู้เรียนฝึกและเรียนรู้ด้วยตนเอง
ระยะที่ 3 เรื่องที่ 4 - 5 ศึกษาทฤษฎีและฝึกปฏิบัติจริงตามโครงสร้างหลักสูตร (เรียนรู้ร่วมกับวิทยากร)
สื่อการเรียนรู้
การจัดกระบวนการเรียนรู้ตามหลักสูตร มีการใช้สื่อการเรียนรู้ และแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย ทันสมัย
และสอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน ได้แก่
1. ใบความรู้
2. คลิปวีดีโอการบรรยายและการสาธิต
3. ใบงาน
การวัดและประเมินผล
การวัดและประเมินผลหลักสูตร เป็นการตรวจสอบความก้าวหน้า โดยใช้ผลการประเมินเป็นข้อมูล
และสารสนเทศที่แสดงการพัฒนาความรู้ ความเข้าใจ ซึ่งสามารถประเมินได้ด้วยวิธีการต่าง ๆ ดังนี้
1. การสังเกต
2. การประเมินผลงาน/ชิ้นงาน
การจบหลักสูตร
1. มีระยะเวลาเรียนและฝึกปฏิบัติตลอดหลักสูตร ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80
2. มีผลการประเมินผ่านตลอดหลักสูตร ไม่น้อยกว่าร้อยละ 60 ตามเกณฑ์ที่กำหนด ดังนี้
2.1 ภาคทฤษฎี สัดส่วนร้อยละ 20
2.1 ภาคปฏิบัติ สัดส่วนร้อยละ 80
เอกสารหลักฐานการศึกษา
1. หลักฐานการเข้าเรียนตลอดหลักสูตร
2. ทะเบียนคุมวุฒิบัตร
3. วุฒิบัตรการศึกษาออกโดยสถานศึกษาที่มีการจัดการเรียนรู้หลักสูตรการปลูกพืชสมุนไพรพื้นบ้าน
ฟ้าทะลายโจร
9