Page 308 - เอกสารประกอบหลักสูตรเพื่อพัฒนาอาชีพ Re - Skill และ Up - Skill กลุ่มอาชีพเกษตรกรรม
P. 308
304
3. ผลไม้ มีหลายชนิดและหลายประเภทเช่นเดียวกันกับผัก หลักโดยรวมในการพิจารณาเลือก
ซื้อ คือ ต้องดูผลไม้ที่สดใหม่ ไม่มีรอยช้ำบริเวณพื้นผิวของผลไม้ บางชนิดควรเลือกที่มีมดไต่บริเวณขั้วกิ่ง
และผล เพราะแปลว่าไม่มีสารพิษตกค้าง
[4] 4. สมุนไพร การรักษาสมุนไพรเพื่อใช้ปรุงยารักษาโรคต่าง ๆ นั้น เราจำจะต้องศึกษาธรรมชาติ
ของสมุนไพรเหล่านี้เสียก่อนว่า สมุนไพรเหล่านี้มีลักษณะอย่างไร ควรจะเก็บรักษาไว้เป็นเวลานานเท่าใดจึงจะ
เสื่อมคุณภาพ และควรเก็บด้วยภาชนะชนิดใดจึงจะไม่เกิดปฏิกิริยากับสมุนไพรเหล่านี้ และควรเก็บอย่างไร
กลิ่น รส ของสมุนไพรเหล่านี้จึงจะเสื่อมไป การรักษาสมุนไพร ดังกล่าวพอจะกล่าวโดยสังเขปได้ดังต่อไปนี้ คือ
4.1 การรักษาสมุนไพรประเภทที่มีกลิ่นหอม เช่น อบเชย กฤษณา กะลำพัก พิมเสน
การบูร ชะมดเชียง ฯลฯ ควรเก็บในขวดแก้ว หรือ ขวดพลาสติกที่มีฝาจุกอัดอากาศให้แน่นสนิทอย่าให้อากาศ
เข้าได้และควรเช็ดให้แห้งสนิทก่อนที่จะนำมาใช้เก็บสมุนไพรเหล่านี้ ทั้งนี้ เพื่อเก็บกลิ่นของสมุนไพรเหล่านี้ไว้ให้
อยู่ตลอดไปให้นานที่สุด เมื่อเราจะนำมาปรุงยาเมื่อใด สมุนไพรเหล่านี้ก็ยังมีสรรพคุณดีอยู่เสมอ หากใช้ภาชนะ
ในการเก็บรักษาสมุนไพรเหล่านี้ผิด เช่น ใช้ภาชนะที่ทำด้วยเหล็ก หรือ ทองเหลืองเก็บสมุนไพรเหล่านี้ภาชนะ
เหล่านั้นอาจเกิดสนิม และสนิมเหล่านี้จะทำลายคุณภาพของสมุนไพรให้เสื่อมไปจนใช้การไม่ได้ และหากใช้จุก
ปิดฝาภาชนะเหล่านี้ปิดไม่สนิทอากาศเข้าได้ สมุนไพรเหล่านี้ก็จะหมดกลิ่นและเสื่อมคุณภาพไม่สามารถจะ
นำไปใช้ทำยาได้อีกต่อไป
4.2 ส่วนสมุนไพรบางชนิดต้องไม่เก็บไว้ในภาชนะที่ทำด้วยโลหะบางชนิด เช่น อลูมิเนียม
เช่น ดีเกลือ ดินประสิว จุนสี เกลือสินเธาว์ สารส้ม กำมะถัน น้ำส้มสายชู ฯลฯ ทั้งนี้เพราะสารต่าง ๆ
ในสมุนไพรเหล่านี้เมื่อสลายตัวออกมาแล้ว จะเกิดปฏิกิริยากับภาชนะที่ใช้เก็บ อาจจะเกิดเป็นกรดอย่างแรง
ชนิดต่าง ๆ ซึ่งจะมีอันตรายเมื่อนำสมุนไพรเหล่านี้ไปใช้ปรุงยาให้แก่คนไข้
4.3 สมุนไพรที่เป็นพืชบางชนิด หรือเป็นสัตว์วัตถุควรใช้ภาชนะที่ทำด้วยสังกะสี หรือ
ทองเหลืองเป็นรูปปี๊บขนาดปี๊บน้ำมันก๊าด และตอนบนควรจะทำเป็นฝาปิดรูปทรงกระบอก แบบฝาถ้ำชาเพื่ออัด
อากาศให้แน่นเวลาใช้เก็บสมุนไพรเหล่านี้ ก่อนเก็บสมุนไพรควรล้างภาชนะให้สะอาดและตากแดดให้แห้งสนิท รวมทั้ง
สมุนไพรที่จะนำมาเก็บด้วย ต้องตากแดดให้แห้งสนิท ก่อนจะนำมาเก็บในภาชนะเหล่านี้แล้วปิดฝาให้แน่นอย่าให้
อากาศและความชื้นในอากาศเข้าได้ เราก็จะรักษาคุณสมบัติของสมุนไพรเหล่านี้ให้มีอายุยืนนานถึง 1 ปี หรือกว่านั้น
4.4 สมุนไพรประเภทมีลักษณะเป็นน้ำ หรือน้ำมัน เช่น น้ำผึ้ง น้ำมันต่าง ๆ ควรเก็บไว้ใน
ขวดแก้ว ส่วนยาดองเหล้า หรือมีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ หรือ ยาดองอื่นๆ ควรใช้ขวดแก้วเป็นภาชนะเก็บ
รักษาจะปลอดภัยกว่า หากจะเก็บยาเหล่านี้เป็นเวลานาน แม้แต่ยาต้มแล้ว ใส่ยากันบูด เช่น โซเดียม เบนโซเอ็ด ยา
ประเภทนี้หากมีความจำเป็นต้องเก็บไว้นานก็ควรเก็บไว้ในขวดแก้วจะปลอดภัยกว่า ไม่ควรเก็บไว้ในขวด
พลาสติกหรือขวดอลูมิเนียมในระยะยาวนาน ทั้งนี้เพราะขวดพลาสติกและขวดอลูมิเนียมมีสารบางชนิดอาจ
เกิดปฏิกิริยากับยาเหล่านี้ในทางที่เป็นพิษแก่คนไข้ที่ใช้รักษา
..........................................................
4 สมุนไพรไทยรักษาโรค. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก
https://sites.google.com/site/chayada10381/kar-keb-raksa. (วันที่สืบค้นข้อมูล 24 กรกฎาคม 2564).
304