Page 113 - เอกสารประกอบหลักสูตรเพื่อพัฒนาอาชีพ Re - Skill และ Up - Skill กลุ่มอาชีพเกษตรกรรม
P. 113

กลุ่มอาชีพเกษตรกรรม
                                              หลักสูตร การปลูกพืชสมุนไพรพื้นบ้าน ขมิ้นชัน


                                                                                                     109

                                       [2]
                   ผลข้างเคียงของขมิ้นชัน
                          การรับประทานขมิ้นชันเพื่อการรักษาโรคใด ๆ ก็ตาม ถ้าหากเรารู้ว่าเราเป็นโรคอะไร แล้วรับประทานไป
                   เรื่อย ๆ จนโรคนั้นหายไปแล้ว ก็ควรหยุดรับประทาน ถึงแม้ขมิ้นชันจะมีประโยชน์ก็จริง แต่หากร่างกายได้รับมาก
                   เกินความต้องการอาจจะกลายเป็นโทษ ขมิ้นชันมีผลข้างเคียง คือ อาการแพ้ เช่น คลื่นไส้ ท้องเสีย ปวดหัว นอนไม่หลับ

                   ดังนั้นหากคุณรับประทานขมิ้นชันแล้วมีอาการดังกล่าว ควรหยุดรับประทานและหายาชนิดอื่นรับประทานแทน
                   และยังมีความเชื่อเรื่องโทษและข้อเสียของขมิ้นชันในแถบภาคใต้ว่า การรับประทานขมิ้นชันที่มากเกินไปและถี่เกินไปนั้น

                   แทนที่จะช่วยป้องกันโรคมะเร็ง อาจจะเป็นมะเร็งได้
                          อย่างไรก็ตาม ควรสังเกตอาการของตนเองด้วย เนื่องจากอาการท้องเสียนั้นเป็นอาการข้างเคียงทั่วไป
                   อาจมีสาเหตุมาจากยาชนิดอื่น หรือจากภาวะของโรคที่เป็นอยู่แล้วร่วมด้วยก็เป็นได้ ดังนั้นควรสังเกตอาการของ

                   ตนเองด้วยว่าเดิมกินยาอื่นแล้วไม่มีปัญหาใช่หรือไม่ แต่เพิ่งมามีปัญหาเมื่อตอนรับประทานขมิ้นชันร่วมด้วย ก็ควรสงสัยไว้
                   ก่อนว่าอาจเป็นผลข้างเคียงของขมิ้นก็ได้ แต่ทั้งนี้ถ้าคิดว่าเป็นผลข้างเคียงของขมิ้น ก็อาจจะรับประทานขมิ้นชัน

                   ต่อไปได้ ด้วยการรับประทานซ้ำ และค่อย ๆ ปรับขนาดยา จาก 1 เม็ด เป็น 2 เม็ดต่อครั้ง แล้วดื่มน้ำตามมาก ๆ
                   ก็อาจจะทำให้รับประทานขมิ้นชันต่อไปได้
                          การรับประทานอย่างพอประมาณและเหมาะสม รับประทานอาหารครบ 5 หมู่ งดพฤติกรรมที่สุ่มเสี่ยงต่อ

                   การเกิดโรคคือสิ่งที่ถูกต้อง บางสิ่งบางอย่างถึงแม้มันจะมีประโยชน์มากก็จริง แต่ถ้ามันมากเกินไปก็จะเป็นโทษต่อ
                   ตนเองได้ จึงไม่ควรหลงและรับประทานทานอย่างไร้สติ

                          การค้นพบสรรพคุณใหม่ ๆ ของขมิ้นชันมีอีกมากมาย เช่น การป้องกันการแข็งตัวของหลอดเลือด
                   การชลอความแก่ การเป็นสารต้านมะเร็งและเนื้องอกต่าง ๆ พบว่า การกินอาหารผสมขมิ้นชันสามารถทำลายเชื้อไวรัส
                   ที่ผ่านมาทางอาหารได้ รวมทั้งสามารถป้องกันมะเร็งจากสารก่อมะเร็งต่าง ๆ และยังมีสรรพคุณใน การต้านไวรัส

                   โดยเฉพาะเชื้อ HIV อันเป็นต้นเหตุของโรคเอดส์ ขมิ้นชันจึงเป็นอีกความหวังหนึ่งของผู้ป่วยเอดส์
                          ขมิ้นชันนอกจากที่จะมีคุณค่าทางอาหารแล้ว ยังถือเป็นพืชที่มีคุณค่าทางยาอีกด้วย ซึ่งชาวไทยนิยมนำ

                   ส่วนต่าง ๆ มาใช้เป็นยาเพื่อบรรเทาอาการที่เกิดขึ้นกับร่างกาย โดยสามารถดูรายละเอียดได้ ดังนี้

                                                      [4]
                   ตัวอย่างวิธีการนำพืชสมุนไพรขมิ้นชันมาใช้
                          เหง้า : เหง้ารสฝาดหวานเอียด ใช้สำหรับแก้อาการไข้เรื้อรัง ผอมเหลือง แก้โรคผิวหนัง แก้เสมหะและโลหิต แก้
                   ท้องร่วง สมานแผล แก้ธาตุพิการ ขับผายลม แก้ผื่นคัน ขับกลิ่นและสิ่งสกปรกในร่างกาย คุมธาตุ หยอดตา แก้ตาบวม ตาแดง

                          น้ำคั้นจากเหง้าสดทาแก้แผลถลอก แก้โรคผิวหนังผื่นคัน ลดอาการอักเสบ ทำให้ผิวพรรณผุดผ่อง นำมา
                   อัดเม็ดทำเป็นยารักษาอาการท้องอืดท้องเฟ้อ ธาตุพิการ อาหารไม่ย่อย กระเพาะอาหารอ่อนแอ รักษาแผลใน
                   กระเพาะอาหาร แก้ท้องร่วง แก้บิด

                   ..........................................................
                          2  ขมิ้น สรรพคุณและประโยชน์ของขมิ้นชัน . [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก.https://www.opsmoac.go.th/surin-
                   local_wisdom-preview-422891791843 . (วันที่สืบค้นข้อมูล 25 กรกฎาคม 2564)

                          4  ขมิ้นชัน สมุนไพรไทยแท้ๆ พร้อมประโยชน์ และการนำไปใช้ให้ถูกวิธี. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก.
                   http://203.157.123.7/ssopanom/?news. (วันที่สืบค้นข้อมูล 25 กรกฎาคม 2564)







                                                          109
   108   109   110   111   112   113   114   115   116   117   118